Page 15 - kpi12821
P. 15
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
พรรคการเมืองถูกต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรง
ตำแหน่งใดๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาล
รัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น
(2) ยกเลิกความในมาตรา 237 วรรคสอง การยุบพรรคการเมืองเพราะ
ผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส. ในนามของพรรคกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย
เลือกตั้ง
(3) เพิ่มบทบัญญัติใหม่ในหมวด 10 ศาล ส่วนที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อ
ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอื่นที่กฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
(4) ปรับปรุงมาตรา 216 วรรคแรก โดยกำหนดให้คำวินิจฉัยของศาล
รัฐธรรมนูญให้ถือเสียงข้างมาก “เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติเป็น
อย่างอื่น” จากเดิมที่ระบุว่า “เว้นแต่จะมีบัญญัติเป็นอย่างอื่นใน
รัฐธรรมนูญนี้”
(1 )
2.2.2 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
พ.ศ. 2550
(1) อำนาจของนายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- ปรับปรุงมาตรา 91 วรรคสอง มาตรา 93 วรรคสอง และมาตรา
95 โดยกำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรหลักใน
การพิจารณาการสิ้นสภาพพรรคการเมืองและการเสนอคำร้อง
เพื่อยุบพรรคการเมือง ส่วนนายทะเบียนพรรคการเมืองให้เป็น
องค์กรรอง มีอำนาจหน้าที่ควบคุมพรรคการเมืองในเรื่องอื่นๆ
ทั่วไป ทั้งนี้ เมื่อมีการร้องเรียนหรือนายทะเบียนพบเหตุต้องสงสัย
ว่า มีพรรคการเมืองเข้าข่ายต้องสิ้นสภาพหรือต้องด้วยเหตุยุบ
พรรคการเมือง ให้นายทะเบียนเสนอเรื่องต่อ กกต. เพื่อพิจารณา
กล่าวอีกนัยหนึ่ง อำนาจในการวินิจฉัยให้พรรคการเมือง
สิ้นสภาพไปก็ดี อำนาจในการเสนอคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
ก็ดี เป็นอำนาจของ กกต. มิใช่ อำนาจร่วมกัน (Co-decision)
ของ นายทะเบียนและ กกต. ดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน