Page 180 - kpi11890
P. 180
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
1
9
สาเหตุของปัญหาที่ร้อยเรียงร่วมกันระหว่างภาคีพัฒนาต่าง ๆ ในเมืองทุ่งสง และ
ด้วยการประชุมปรึกษาหารือกว่า 6 ครั้งในปี พ.ศ. 2549 ทำให้เกิดเป็นการรวม
กลุ่มกลายเป็นเครือข่ายเชิงรูปธรรมอย่างชัดเจนที่ถ่ายทอดผ่านการจัดทำ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ และข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองทุ่งสง และ
ในปัจจุบันเครือข่ายดังกล่าวได้มีความเข้มแข็งและมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
และยั่งยืน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นจะสร้าง
ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
เครือข่ายให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนต้องอาศัยการค้นพบซึ่งประเด็นร่วมที่มี
ผลกระทบต่อภาคีพัฒนาทุกภาคส่วนอย่างแท้จริงมิใช่เป็นเพียงปัญหาหรือ
ผลกระทบของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น เมื่อค้นพบแล้วต้องอาศัย
กระบวนการมีส่วนร่วมซึ่งอาจใช้รูปแบบอย่างเทศบาลเมืองทุ่งสงที่เริ่มต้นจากการ
สร้างเครือข่ายความร่วมมือแบบไม่เป็นทางการแล้วค่อยๆ พัฒนารูปแบบที่เหมาะสม
สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของตนเองต่อไป
บทที่ 2 การบริหารเครือข่าย
หลักการบริหารเครือข่ายการพัฒนาเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ เพื่อแก้
ปัญหาอุทกภัยและน้ำท่วมเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการให้ประสบผลสำเร็จเชิงรูปธรรม
ได้อาศัยปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้
1) การวางแผน (Planning)
การสนับสนุนและกระตุ้นให้ภาคีมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน
ร่วมกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนงานเป็นอย่างดี เพื่อให้ภาคีมีแนวทาง
ที่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน และแผนงานนั้นจะต้องมีความชัดเจน สามารถวัดได้
และเป็นไปได้ในการปฏิบัติ กล่าวคือ แผนงานนั้นจะต้องมีความยุติธรรมหรือความ
9 ปิยะนาถ กลิ่นภักดี บรรณารักษ์, 11 มีนาคม 2553, เทศบาลเมืองทุ่งสง,
นครศรีธรรมราช, เทปบันทึกเสียง.