Page 175 - kpi11890
P. 175
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
1 0
ภาคส่วนราชการ ผู้นำจากภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชน
5
ซึ่งบุคคลที่สำคัญมากที่สุดที่ทำให้เกิดการก่อรูปจนกลายเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง
คือ นายทรงชัย วงษ์วัชรดำรง นายกเทศมนตีเมืองทุ่งสง บุคคลผู้รู้หลักการประสานงาน
(coordinating) เป็นอย่างดี ซึ่งการประสานงานถือเป็นหัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่ง
ของการบริหารงาน โดยเฉพาะการบริหารงานในระบบราชการนั้น ถึงแม้ว่าจะเน้น
สายการบังคับบัญชา (hierarchy) แต่หากผู้บริหารให้ความสำคัญกับการประสาน
งานจะส่งผลให้ข้าราชการและประชาชนรู้สึกเกิดความผูกพันและสามัคคีซึ่งกัน
และกัน ซึ่งจะนำไปสู่การประสบความเร็จในการปฏิบัติ โดยงานที่ออกมาก็จะมี
ลักษณะเป็นไปตามที่ต้องการ
อาจสรุปได้ว่า รูปแบบของเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินและแก้ไข
ปัญหาอุทกภัยและน้ำท่วม รวมถึงปัญหาอื่น ๆ ของเมืองทุ่งสง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้
การดำเนินงานประสบความสำเร็จก็คือ วัฒนธรรมของคนในเมืองทุ่งสงเอง ซึ่งอาจ
ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
จะไม่พบวัฒนธรรมเช่นนี้ในพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของคนที่มีความเข้าใจและ
พร้อมที่จะร่วมมือ ร่วมใจในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ร่วมกัน
ซึ่งรูปแบบของเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ
หน่วยงานอื่น ๆ ที่อยู่ในพื้นที่นี้เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยกฎหมาย แต่เป็นรูปแบบ
ของความร่วมมือที่ใช้แผนงานเป็นเครื่องผูกใจและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนความ
ร่วมมือ ดังที่ พ.ต.อ.ธรรมนูญ ใฝจู อดีตผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทุ่งสง กล่าวว่า
6
“ตั้งแต่รับราชการมาหลายที่ยังไม่เคยเห็นรูปแบบการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
เหมือนกับของอำเภอทุ่งสงน่าจะเป็นที่แรก”
5 สุริโย วิชัยดิษฐ์ ผู้บัญชาการเรือนจำอำเภอทุ่งสง, สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 11 มีนาคม
2553, เทศบาลเมืองทุ่งสง, นครศรีธรรมราช, เทปบันทึกเสียง.
6 สถาบันพระปกเกล้า, ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและ
ความเป็นไปได้ (กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า, 2550).