Page 170 - kpi11890
P. 170
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
1
นอกจากนี้การดำเนินงานของเครือข่ายการพัฒนาเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการ
เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยและน้ำท่วมเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการในปัจจุบันมีการขยาย
ฐานสมาชิกของทั้ง 2 เครือข่ายย่อย โดยอาศัยหลักการที่สำคัญคือ หลักความ
รับผิดชอบ (responsibility) ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่ช่วยทำให้เกิดการกระตุ้นเตือน
และตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาร่วมกันของทุกภาคส่วน ดังจะเห็นได้จาก
การประชุมเครือข่ายในแต่ละครั้งที่พยายามชี้ประเด็นปัญหาและแสวงหาแนวทาง
แก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วม ทำให้กลไกดังกล่าวสามารถสะท้อนให้เข้าใจถึงขอบเขต ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
การทำงานและผู้รับผิดชอบหลักอย่างชัดเจน และเมื่อผลจากประชุมเหล่านั้นได้ถูก
เผยแพร่ให้ทราบโดยกว้างขวางมากขึ้น ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายๆ ภาคส่วน
ที่ยังมิได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายต่างยินดีตอบรับเข้าร่วมเครือข่ายมากยิ่งขึ้นตามลำดับ
ดังนั้นกลไกหลักที่สำคัญของการดำเนินงานหาเครือข่ายโดยเฉพาะผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ได้เสียหลักเกิดจากการใช้หลักความรับผิดชอบที่สะท้อนจากกระบวนการมีส่วนร่วม
ของที่ประชุมเครือข่ายในแต่ละครั้ง
การระดมทรัพยากรและทรัพยากรที่ใช้
ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงานของเครือข่ายการพัฒนาเมืองทุ่งสงแบบ
บูรณาการ เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยและน้ำท่วมเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการของทั้ง
2 เครือข่าย ประกอบด้วย ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้
1. ด้านบุคลากร การดำเนินงานของเครือข่ายแก้ไขปัญหาอุทกภัยเมือง
ทุ่งสงแบบบูรณาการด้านภายภาพได้มีการใช้ทรัพยากรมนุษย์ที่ถือว่าเป็นทุนทาง
สังคมที่มีจำเป็นสำหรับการดำเนินงานทุกด้าน ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกลไกหลัก
คือ คณะกรรมการแก้ไขปัญหาอุทกภัยอำเภอทุ่งแบบบูรณาการด้านกายภาพ
มีทั้งสิ้น 32 คน และบุคลากรที่สนับสนุนการทำงานเชิงปฏิบัติการ ส่วนการดำเนิน
งานของเครือข่ายแก้ไขปัญหาอุทกภัยเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการด้านสังคม
กฎหมาย ระบบแผนพัฒนาและผังเมือง มีคณะกรรมการแก้ไขปัญหาอุทกภัย