Page 57 - kpi10607
P. 57
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
มาตรา 37 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดหน่วยลงคะแนนเสียงที่จะพึงมีในองค์กรปกครอง
สถาบันพระปกเกล้า ส่วนท้องถิ่นที่จะจัดให้มีการลงคะแนนเสียง และกำหนดที่ลงคะแนนเสียงของหน่วยลงคะแนนเสียงนั้น ทั้งนี้
โดยคำนึงถึงจำนวนของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงในแต่ละหน่วยลงคะแนนเสียงและความสะดวกในการเดินทาง
ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียง และให้ประกาศให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่ายี่สิบวันก่อนวัน
ลงคะแนนเสียง
ในกรณีจำเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือบุคคลที่ได้รับ
มอบหมายจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง แล้วแต่กรณี อาจเปลี่ยนแปลงที่ลงคะแนนเสียงที่ได้ประกาศตาม
วรรคหนึ่ง เป็นสถานที่อื่นตามที่เห็นว่าเหมาะสมก็ได้ แต่ต้องประกาศการเปลี่ยนแปลงที่ลงคะแนนเสียงให้ทราบ
ล่วงหน้าก่อนวันลงคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าห้าวัน เว้นแต่เป็นกรณีฉุกเฉิน จะประกาศการเปลี่ยนแปลงที่
ลงคะแนนเสียงน้อยกว่าระยะเวลาดังกล่าวก็ได้
มาตรา 38 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือบุคคลที่ได้
รับมอบหมายจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง แล้วแต่กรณี มีอำนาจแต่งตั้งบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคน เพื่อ
ทำหน้าที่อำนวยการหรือกำกับดูแลการลงคะแนนเสียงตามที่กำหนดได้
มาตรา 39 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือบุคคลที่ได้
รับมอบหมายจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง แล้วแต่กรณี แต่งตั้งคณะกรรมการประจำที่ลงคะแนนเสียงแต่ละ
แห่งไม่น้อยกว่าห้าคน เพื่อทำหน้าที่ในที่ลงคะแนนเสียงนั้น
กรรมการประจำที่ลงคะแนนเสียง ให้แต่งตั้งจากผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงในหน่วยลงคะแนนเสียงนั้นเป็น
ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสี่คน และถ้าในวันลงคะแนนเสียงกรรมการประจำที่
ลงคะแนนเสียงมาปฏิบัติหน้าที่ไม่ถึงห้าคน ให้กรรมการที่เหลืออยู่แต่งตั้งผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงในหน่วย
ลงคะแนนเสียงนั้นเป็นกรรมการประจำที่ลงคะแนนเสียงจนครบห้าคน
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่มาปฏิบัติหน้าที่ ไม่อยู่ในที่ลงคะแนนเสียง หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการประจำที่ลงคะแนนเสียงที่มาปฏิบัติหน้าที่เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการแทน หรือให้
ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทน แล้วแต่กรณี ไปพลางก่อน จนกว่าประธานกรรมการจะสามารถปฏิบัติ
หน้าที่ได้
มาตรา 40 กรรมการประจำที่ลงคะแนนเสียงมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการลงคะแนนเสียง
รักษาความเรียบร้อยในการลงคะแนนเสียง การนับคะแนนเสียงในที่ลงคะแนนเสียง และมีหน้าที่อื่นตามที่
บัญญัติไว้ในหมวดนี้หรือตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือ
บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง แล้วแต่กรณี กำหนด
ผู้ใดขัดขวางการลงคะแนนเสียง ให้กรรมการประจำที่ลงคะแนนเสียงมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นออกไปจากที่
ลงคะแนนเสียงนั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการขัดขวางผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงที่จะใช้สิทธิลงคะแนนเสียง
มาตรา 41 การลงคะแนนเสียงให้ใช้วิธีลงคะแนนโดยตรงและลับ
การออกเสียงลงคะแนนให้ทำเครื่องหมายลงในบัตรลงคะแนนเสียงในช่อง “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็น
ด้วย” กับการให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ที่ถูกร้องขอให้ลงคะแนนเสียงถอดถอน