Page 188 - kpi10607
P. 188

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




                                                                                                                 1


                       ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพเชิงพาณิชย์ขึ้น ซึ่งน้ำหมักชีวภาพนี้มีสรรพคุณต่าง ๆ กัน เช่น ใช้ทำความ
                       สะอาดบ้าน ล้างภาชนะ สบู่ และใช้ในการเกษตรเพื่อกำจัดแมลง ลดกลิ่นปศุสัตว์ หรือใช้เป็นปุ๋ยในการ
                       เพาะปลูก ตามแต่สูตรของการทำน้ำหมักชีวภาพ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ได้รับการพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็น  สถาบันพระปกเกล้า
                       สินค้าเชิงพาณิชย์ ภายใต้ชื่อการค้า “ไบโอไลต์” โดยมีศูนย์กลางวางจำหน่ายสินค้าที่ร้านขายปลีกในศูนย์อาหาร

                       ใจกลางย่านชุมชนเทศบาล

                             จะเห็นได้ว่าทางเทศบาลตำบลกำแพงเพชรได้มีการวางแผนการดำเนินการไว้อย่างเป็นขั้นตอน พร้อมทั้ง

                       วางแผนขยายโครงการ ริเริ่มโครงการเสริมและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชนในการเพิ่ม
                       ประสิทธิภาพโครงการธนาคารขยะอย่างสมบูรณ์แบบเป็นระบบ และให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการมีส่วนร่วม
                       ของประชาชน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการธนาคารขยะและกิจกรรมต่าง ๆ


                          ลักษณะการมีส่วนร่วม

                             การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการธนาคารขยะนี้ มีรูปแบบในการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป

                       จนนำไปสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเข้มข้น โดยเกิดการเริ่มปูพื้นฐาน และการเตรียมความพร้อมใน
                       ด้านต่าง ๆ ทั้งทักษะการทำงาน การอบรมให้ความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างจิตสำนึกการเป็นเจ้าของร่วม
                       กันและการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลกำแพงเพชร


                             ในเบื้องต้นเทศบาลได้มีการปูพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนต่องานและกิจกรรมโครงการต่าง ๆ
                       เป็นระยะ ผ่านทางกิจกรรมเทศบาลพบประชาชน และสภากาแฟ ซึ่งเป็นการมีส่วนร่วมในระดับการหารือ
                       (Consult) เพื่อให้ได้รับความคิดเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับสภาพปัญหารวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหา

                       โดยเจ้าหน้าที่เทศบาลจะเป็นฝ่ายให้ทั้งข้อมูลข่าวสาร และรับฟังความเห็นของประชาชน เพื่อมาประกอบการ
                       ตัดสินใจ โดยการพบปะกับประชาชนนั้นเป็นการพบปะกันอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งสามารถสร้างความคุ้นเคย
                       ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประชาชนได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญคือทำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญ

                       ของตนเองในฐานะที่เป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งการปูพื้นฐานนี้จะส่งผลกระทบด้านบวกในการมี
                       ส่วนร่วมของประชาชนในระดับที่เข้มข้นมากขึ้น

                             สำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการธนาคารขยะช่วงเริ่มโครงการนั้น สามารถจำแนกได้อยู่ใน

                       ระดับ การเข้ามามีบทบาท (Involve) เจ้าหน้าที่เทศบาลทำงานร่วมกับประชาชน ซึ่งข้อมูลและความคิดเห็นจาก
                       ประชาชนจะสะท้อนทางเลือกที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้ตัดสินใจเป็นนโยบายดำเนินการ การมีส่วนร่วมระดับนี้ใน
                       บริบทของธนาคารขยะสังเกตได้จากการประชุมและวางแผนกลยุทธ์ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่เทศบาลกับ

                       ประชาชน เพื่อระบุถึงสาเหตุปัญหา และการค้นหาทางเลือกในการจัดการกับปัญหาอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึง
                       ข้อมูล ความคิดเห็นต่าง ๆ และข้อจำกัดที่ประชาชนได้เสนอแนะ  ทั้งนี้ ลักษณะการประชุมที่ดึงเอาความคิด
                       เห็นของประชาชนมาพิจารณาอย่างจริงจัง และการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนงานและ

                       ระดมความคิด ตลอดจนกระบวนการทั้งหมดที่ตกผลึกออกมาเป็นโครงการธนาคารขยะภายใต้โครงการการ
                       จัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรนั้น นับได้ว่าข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการ
                       เลือกดำเนินโครงการธนาคารขยะ


                             ต่อมาเทศบาลได้ค่อย ๆ ผ่องถ่ายภาระรับผิดชอบให้กับประชาชนเข้ามาดำเนินโครงการ ในขณะ
                       เดียวกันก็เพิ่มอำนาจและบทบาทการตัดสินใจของประชาชนในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของโครงการ ทั้งนี้
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193