Page 183 - kpi10607
P. 183

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




          1              ขั้นตอนการวางแผน หัวใจสำคัญของการดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ โดยดึง

              สถาบันพระปกเกล้า   ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนถึงหัวข้อปัญหา และทางเลือกต่าง ๆ



                   ที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา


                         เครื่องมือที่เทศบาลตำบลกำแพงเพชรใช้ในการระดมสมองและดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการริเริ่ม
                   โครงการคือ “เวทีเทศบาลพบประชาชน” รวมทั้ง “กิจกรรมสภากาแฟ” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เทศบาลได้ดำเนินการ
                   มาเป็นระยะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียนในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน

                   ของเทศบาล ซึ่งกิจกรรมเทศบาลพบประชาชนนี้ นับได้ว่าเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสและปลูกฝังจิตสำนึกการมี
                   ส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินการบริหารท้องที่ของเทศบาล

                         ในการระดมความคิดเห็นประชาชนโดยใช้กิจกรรมเทศบาลพบประชาชนนั้น เทศบาลได้นำประชาชน

                   เข้ามามีส่วนร่วมคิดร่วมวางแผนต่อโครงการที่เทศบาลได้มีความคิดริเริ่ม ซึ่งความคิดเห็นจากทุกฝ่ายจะได้รับ
                   การพิจารณา และผ่านการกลั่นกรองในการประชุมระดมสมองระหว่างเทศบาลและชุมชน จนตกผลึกนำไปสู่
                   แผนโครงการและมีกลยุทธ์ในการดำเนินการอย่างชัดเจน ข้อสรุปในการประชุมจะระบุถึงประเด็นปัญหา

                   ที่เกี่ยวข้อง และแนวทางในการแก้ไขที่เหมาะสมของแต่ละชุมชน

                         ทั้งนี้ การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นนี้เป็นไปอย่างแข็งขัน เนื่องมาจากการสร้างสำนึกความเป็น
                   เจ้าของร่วมกันของชุมชน ซึ่งเทศบาลได้ดำเนินการปูพื้นไว้ให้กับประชาชนในพื้นที่มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว

                   โดยเทศบาลตำบลกำแพงเพชรได้มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่ดำเนินการของเทศบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้
                   ประชาชนได้รับทราบถึงการทำงานและความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งแผนงานต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นซึ่งอาจส่ง
                   ผลกระทบต่อชุมชน พร้อมกันนี้ยังเปิดโอกาสให้เทศบาลได้รับทราบข้อเท็จจริงของการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ

                   ส่งผลให้เกิดสำนึกในการเป็นเจ้าของและสำนักความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน นอกจากนี้ เทศบาลยังได้
                   พยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชน โดยเปิดโอกาสให้มีการพบปะในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ
                   ระหว่างหน่วยงานเทศบาลและประชาชนอยู่อย่างสม่ำเสมอในลักษณะการเข้าหาประชาชน กล่าวคือเทศบาลจะมี

                   การเยี่ยมเยียนครัวเรือนประชาชนอยู่เป็นระยะ และมีการนำสิ่งของมามอบให้แก่ครัวเรือนที่มีบุตรแรกเกิด
                   ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้าหน้าที่และชุมชน และเป็นการขจัดภาพลักษณ์การเป็นเจ้าหน้าที่ของ
                   ซึ่งประชาชนอาจมองว่าอยู่ในฐานะที่เข้าไม่ถึงหรือความรู้สึกที่อยากเลี่ยงการติดต่อกับเทศบาลไปได้


                         โดยสรุป เทศบาลตำบลกำแพงเพชรมีนโยบายในการดำเนินโครงการที่ดึงประชาชนเข้ามาเป็นผู้ร่วมงาน
                   ในระดับที่เข้มข้น มีการสร้างจิตสำนึกของความเป็นเจ้าของร่วมกันทางสังคม และสร้างความสัมพันธ์อันดี
                   ระหว่างชุมชนและเจ้าหน้าที่ของเทศบาลให้เกิดขึ้น ปัจจัยดังกล่าวเหล่านี้ล้วนส่งผลอย่างสำคัญต่อการสร้าง

                   โอกาสและกระตุ้นการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนต่อการดำเนินงานของเทศบาล ทำให้การดำเนินโครงการใน
                   ขั้นต่อไปเป็นไปด้วยความราบรื่น ได้รับแรงสนับสนุน ความร่วมมือ และความช่วยเหลือจากชุมชนในพื้นที่อย่าง
                   เต็มที่ เนื่องมาจากโครงการดังกล่าวได้กลายเป็นโครงการที่ทุกฝ่ายได้ร่วมคิด ร่วมสร้าง และร่วมเป็นเจ้าของ

                   โครงการนั้น

                      ขั้นตอนช่วงเริ่มโครงการ


                         ในช่วงเริ่มต้นของโครงการธนาคารขยะ เทศบาลตำบลกำแพงเพชรได้มีบทบาทในการเผยแพร่ความรู้
                   การจัดการขยะไปสู่ประชาชนในชุมชมทั้ง 6 ชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาล ด้วยการจัดอบรมหลักสูตร
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188