Page 189 - kpi10607
P. 189

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




          1 0      ระดับการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนได้พัฒนาไปสู่ระดับที่เข้มข้น และมีลักษณะที่ถาวรมากขึ้น จนนำไปสู่

              สถาบันพระปกเกล้า   ระดับการสร้างความร่วมมือ (Collaboration) ดังจะเห็นได้จากการดำเนินการรายงานผลโครงการแต่ละเดือน



                   ซึ่งเป็นการประเมินผลร่วมกันระหว่างเทศบาลและคณะกรรมการประชาชน ซึ่งการดำเนินการจะเป็นไปโดย
                   สอดคล้องกับการสร้างเสริมความพร้อมในการโอนถ่ายงานบริหารโครงการให้กับประชาชน โดยประชาชนจะได้

                   รับการถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็น รวมทั้งความช่วยเหลือด้านเทคนิคและงบประมาณที่จำเป็นบางส่วน เช่น ของ
                   รางวัลและทุนการศึกษาที่ทางธนาคารขยะจะมอบให้กับประชาชนผู้ที่มียอดเงินฝากสูงในอันดับต้น ๆ และมี

                   ยอดเงินฝากสม่ำเสมอ โดยสรุป ขั้นตอนนี้ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารโครงการและกระบวนการ
                   ตัดสินใจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโครงการธนาคารขยะ โดยมีเจ้าหน้าที่เทศบาลรับบทเป็นพี่เลี้ยงในการ
                   ช่วยเหลือให้โครงการดำเนินไปได้โดยสะดวก


                         สำหรับการดำเนินโครงการในปัจจุบันนั้น กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นไปในระดับ
                   ขั้นสูงสุดนั่นคือ ระดับการเสริมอำนาจ (Empower) โดยประชาชนเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเต็มที่ใน
                   โครงการ ดังจะเห็นได้จากการขยายโครงการ ซึ่งนำไปสู่การบริหารงานธนาคารขยะทั้งสองสาขาโดยผู้จัดการ
                   ธนาคารซึ่งเป็นประชาชน และศูนย์สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพซึ่งมีกลุ่มทำผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพเป็น

                   ผู้ดำเนินการนั้น ประชาชนเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งสิ้น โดยเจ้าหน้าที่เทศบาลเป็นเพียงผู้คอยให้ความสนับสนุน
                   เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ในขั้นนี้การประชุมร่วมเพื่อติดตามประเมินผลโครงการระหว่างเจ้าหน้าที่เทศบาลโดย

                   กองสาธารณสุขและคณะกรรมการประชาชนยังคงมีการดำเนินการอยู่ โดยมีข้อมูลรายงานผลการดำเนินการ
                   ประจำเดือนและประจำปีเป็นเครื่องมือในการประเมินผล และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจกำหนดทิศทางของ
                   โครงการ  โดยสรุปแล้วนั้น ในการดำเนินโครงการปัจจุบันประชาชนได้รับมอบอำนาจในการตัดสินใจและ
                   การบริหารโครงการอย่างเต็มที่ และเทศบาลเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแนวทาง

                   การตัดสินใจที่กระทำโดยประชาชน


                      ผลสำเร็จในการดำเนินโครงการ

                         ผลสำเร็จของโครงการธนาคารขยะนั้นสามารถอธิบายได้ตามผลสำเร็จที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้ คือ


                         ประการแรก การยืดอายุการใช้งานที่สถานที่กำจัดขยะของทางเทศบาล ผลสำเร็จนี้เป็นผลสำเร็จ
                   อันสำคัญ ตามวัตถุประสงค์หลักของโครงการธนาคารขยะ ขยะมูลฝอยจากชุมชนมีปริมาณลดลงจากการ
                   ที่ประชาชนได้คัดแยกขยะภายในครัวเรือน เพื่อคัดเอาเศษวัสดุทั้งขยะแห้ง และขยะอินทรีย์กลับมาแปรรูปหรือ

                   นำไปฝากธนาคารขยะ จนกระทั่งขยะที่เหลือจากประเภทดังกล่าว เช่น ขยะทั่วไป และขยะอันตราย มีปริมาณ
                   ที่น้อยลงอย่างมาก ส่งผลให้สถานกำจัดขยะของเทศบาลสามารถรองรับปริมาณขยะเหล่านั้นได้

                         ประการที่สอง ผลสำเร็จที่เห็นได้จากโครงการ คือ ความสะอาดและคุณภาพของสิ่งแวดล้อมในชุมชน

                   ผลสำเร็จนี้เป็นผลจากการที่ปริมาณขยะลดลงอีกเช่นกัน โดยส่งผลให้ถังขยะเทศบาลในที่สาธารณะมีปริมาณ
                   เพียงพอ และไม่มีขยะล้นออกมานอกถัง ปัจจุบันพื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชรนั้นสะอาดและมีเศษ
                   ขยะที่ทิ้งตามข้างทางน้อยมาก สิ่งนี้เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการปลูกจิตสำนึกของโครงการธนาคารขยะ

                   ให้ประชาชนมีความรับผิดชอบต่อการทิ้งขยะ และต่อความสะอาดของสังคมชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ ผลสำเร็จนี้
                   ส่งผลให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวมของชุมชนมีความสะอาดและปราศจากเศษขยะตามข้างทางมากขึ้น
                   ในระดับที่เห็นได้ชัดเจน
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194