Page 190 - kpi10607
P. 190
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
1 1
ประการที่สาม ผลสำเร็จเชิงเศรษฐกิจครัวเรือนและเศรษฐกิจชุมชน จากการดำเนินโครงการธนาคารขยะ
นั้น บัญชีเงินฝากออมพร้อมดอกเบี้ยของธนาคารขยะกับการเกิดธุรกิจการผลิตน้ำหมักชีวภาพในเชิงพาณิชย์
ถือเป็นรายได้เสริมให้กับครัวเรือน นอกจากขยะอินทรีย์แปรรูปแล้วนั้น ขยะแห้งเช่นลังกระดาษ กระป๋อง สถาบันพระปกเกล้า
น้ำอัดลม หรือขวดน้ำยาปรับผ้านุ่ม ยังสามารถนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์รีไซเคิลที่มีความสวยงามและใช้
ประโยชน์ได้หลายประการ เช่น ตะกร้า และหมวก เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการจัดทำเป็นเชิงพาณิชย์ และ
วางจำหน่ายที่ศูนย์อาหารเช่นเดียวกับน้ำหมักชีวภาพ สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นส่วนช่วยการกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าใน
ท้องถิ่นให้ตื่นตัวได้ในอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ครัวเรือนที่มีความพร้อมยังสามารถผลิตน้ำหมักชีวภาพบางชนิด
ไว้ใช้เองได้ ซึ่งเป็นการลดรายจ่ายค่าครองชีพประจำวันให้กับครัวเรือนในท้องถิ่นได้อีกด้วย นอกจากนี้
ผลสำเร็จเชิงเศรษฐกิจอีกประการหนึ่งคือการขยายตัวธุรกิจรับซื้อของเก่า ทั้งในรูปแบบร้านรับซื้อเศษของเก่า
หรือซาเล้งรับซื้อของเก่า จากเดิมที่มีการดำเนินการค่อนข้างน้อยได้มีการเพิ่มขึ้นมากตามลำดับอย่างเห็นได้ชัด
ผลสำเร็จในประการที่สี่ คือ ผลที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนนั่นเอง ผลสำเร็จในข้อนี้คือ การ
สร้างโอกาสและการกระตุ้นให้เกิดอาสาสมัครในหมู่ประชาชนและการเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ กับเทศบาลใน
อนาคต การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในโครงการธนาคารขยะนั้น นอกจากจะบรรลุ
วัตถุประสงค์ในด้านต่าง ๆ ของโครงการแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการสร้าง “จิตอาสา” ต่องานของชุมชนอีกด้วย
เนื่องจากกระบวนการการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งนั้นสามารถช่องยกระตุ้นประชาชนให้เกิดความเคลื่อนไหว ตลอด
จนเกิดจิตสำนึกในการร่วมมือและเสียสละตนในงานอาสาสมัครต่าง ๆ ซึ่งสิ่งนี้เห็นได้อย่างชัดเจนจากเจ้าหน้าที่
อาสาสมัครของโครงการธนาคารขยะ และเจ้าหน้าที่ของศูนย์สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ ตลอดจนเกิดกลุ่ม
ชุมชนรักษ์คลองรัตภูมิซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในรายละเอียดในหัวข้อโครงการเสริม
ผลสำเร็จประการสุดท้ายที่จะกล่าวถึง เป็นผลสำเร็จในมิติด้านสังคม นั่นคือ การเกิดสำนึกความเป็น
เจ้าของชุมชน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าวิธีการและเทคนิคที่เทศบาลตำบลกำแพงเพชรใช้ในการดำเนินโครงการ
ธนาคารขยะคือ การสร้างเสริมจิตสำนึกความเป็นเจ้าของร่วมกันทางสังคม ผ่านการเปิดโอกาสให้ประชาชน
ได้มามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ และแสดงความเห็นต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของเทศบาล ในปัจจุบันสำนึกในความเป็น
เจ้าของร่วมกันของชุมชนในหมู่ประชาชนในพื้นที่เทศบาลนั้นได้สะท้อนออกมาให้เห็นจากความร่วมมือต่าง ๆ
ต่อโครงการธนาคารขยะ และโครงการเสริมอื่น ๆ ที่เป็นไปอย่างจริงใจและแข็งขัน รวมทั้งความร่วมแรงร่วมใจ
ในการรักษาความสะอาดในชุมชนที่อยู่อาศัยของตัวเอง โดยไม่ทิ้งเศษขยะตามท้องถนนหรือทิ้งขยะที่สามารถ
นำมาใช้ใหม่ได้ลงในถังขยะสาธารณะของเทศบาล
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินโครงการ
ปัจจัยความสำเร็จของโครงการธนาคารขยะนั้นแบ่งออกได้เป็น 4 ประการ คือ ปรัชญาการทำงาน
เชิงบูรณาการ ผู้นำ การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของประชาชน และความโปร่งใสในการดำเนินการ
ประการแรก ปัจจัยความสำเร็จของโครงการที่เห็นได้ชัดคือ กระบวนการคิดวางแผนโดยอาศัยหลัก
การบูรณาการ โครงการธนาคารขยะนั้นได้รับการสนับสนุนจากโครงการเสริมในการรองรับผลดำเนินการที่
มุ่งบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน ในการนี้เทศบาลตำบลกำแพงเพชรร่วมกับกลุ่มประชาชนในพื้นที่ดำเนิน
โครงการเสริมต่าง ๆ ที่มีลักษณะการดำเนินงานรองรับซึ่งกันและกัน เช่น โครงการพัฒนาศูนย์อาหารที่พัฒนา
เป็นที่ตั้งของร้านขายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากวัสดุเหลือใช้ที่ได้จากการคัดแยกขยะเป็นตัวอย่างที่ดีในการคิด