Page 191 - kpi10607
P. 191

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




          1 2      โครงการเสริมโดยมีแนวความคิดสอดรับกันกับโครงการหลัก นอกจากนี้ยังมี โครงการและกิจกรรมสนับสนุน

              สถาบันพระปกเกล้า   อื่น ๆ ที่ช่วยสร้างบรรยากาศการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรักษาความสะอาด เช่น กิจกรรมทอดผ้าป่ารีไซเคิล



                   การประกวดคำขวัญลดขยะ เป็นต้น โครงการและกิจกรรมเหล่านี้ช่วยส่งเสริมการเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ
                   หลักของประชาชน รวมทั้งช่วยต่อยอดขยายผลและเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการหลักได้เป็นอย่างดี แสดง

                   ให้เห็นถึงความชัดเจนและการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนในกระบวนการวางแผนกลยุทธ์การดำเนินโครงการ

                         ประการที่สอง ของปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ ผู้นำ ปัจจัยนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการริเริ่มทำให้

                   โครงการออกมาเป็นรูปเป็นร่างและสร้างความเข้มแข็งยั่งยืนให้กับโครงการ โดย นายกเทศมนตรีของเทศบาล
                   ตำบลกำแพงเพชรได้แสดงออกถึงความมุ่งมั่นและจริงใจต่อการดำเนินโครงการ ลงมือทำและควบคุมดูแล
                   โครงการอย่างเต็มที่และสม่ำเสมอ อีกทั้งยังให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่

                   เกี่ยวข้องกับโครงการธนาคารขยะ และโครงการเสริมอื่น ๆ อย่างเต็มที่ เมื่อมีการขออนุมัติงบประมาณที่จำเป็น
                   ต่อการดำเนินโครงการนั้น

                         ปัจจัยประการที่สามคือ การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของประชาชน  ดังที่ได้กล่าวข้างต้น การมีส่วนร่วม

                   ของประชาชนตั้งแต่การริเริ่มโครงการ ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินการ และการขยายโครงการ ได้กลายมาเป็น
                   ส่วนสำคัญที่มีบทบาทในการสร้างความสำเร็จให้กับโครงการธนาคารขยะ กล่าวคือ เมื่อโครงการนั้นได้ผนวก
                   ประชาชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตั้งแต่ต้น ความคิดเห็นและข้อเสนอต่าง ๆ ของประชาชนได้รับ

                   ความตระหนักและการให้ความสำคัญจากเทศบาล โครงการนั้นจึงได้รับความชอบธรรมและการสนับสนุนอย่าง
                   เข้มแข็งจากประชาชนไปโดยปริยาย ทั้งนี้เนื่องจาก ประชาชนกระตือรือร้นเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เป็น
                   ผู้ร่วมงานที่ตื่นตัวของโครงการธนาคารขยะ ทั้งตัวโครงการเองก็ยังเป็นผลผลิตอันเกิดมาจากความคิด การร่วม

                   วางแผน และน้ำพักน้ำแรงของประชาชนเอง ดังนั้นโครงการธนาคารขยะจึงกลายเป็นโครงการที่ประชาชนหรือ
                   สมาชิกในสังคมทุกคนนั้นรู้สึกเป็นเจ้าของ และการที่ประชาชนได้กลายเป็นเจ้าของโครงการนี้เองที่เป็นจุดสำคัญ
                   ของปัจจัยความสำเร็จอันเกิดมาจากกระบวนการการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของประชาชน


                         ปัจจัยความสำเร็จประการสุดท้าย คือ ความโปร่งใสในการดำเนินการ กล่าวคือ โครงการธนาคารขยะนี้
                   มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน เนื่องด้วยการรายงานผลการดำเนินงานประจำเดือน และ
                   ประจำปี ที่มีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรม ผู้ใช้บริการ ปริมาณน้ำหนักของขยะ และราคาที่ขาย ประกอบกับ
                   การที่โครงการดำเนินการโดยประชาชน โดยใช้ระบบคณะกรรมการนั้น ได้ช่วยทำให้เกิดความโปร่งใสและ

                   ลดความเสี่ยงในการปกปิดข้อมูลต่าง ๆ และ ปัจจัยเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินการนี้เองที่สร้างความน่าเชื่อถือ
                   ให้กับโครงการ ซึ่งส่งผลให้โครงการได้รับการยอมรับและแรงสนับสนุนจากประชาชนในวงกว้าง


                      อุปสรรคในการดำเนินโครงการและการแก้ปัญหา


                         ปัญหาในการดำเนินโครงการธนาคารขยะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประการด้วยกัน ประการแรกคือ
                   การขาดแคลนร้านรับซื้อของเก่า เนื่องด้วยพื้นที่เทศบาลตำบลกำแพงเพชรเป็นพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก ส่งผลให้
                   ธุรกิจต่าง ๆ มีขนาดเล็ก ทั้งนี้รวมไปถึงธุรกิจการรับซื้อของเก่าและเศษวัสดุด้วย โดยปัจจัยนี้เป็นอุปสรรค

                   สำคัญ เนื่องจากร้านรับซื้อของเก่านั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญในการดำเนินโครงการและการสร้างเงินซึ่งจะนำมา
                   เป็นเงินในบัญชีเงินฝากของประชาชนผู้ใช้บริการ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่รับผิดชอบ
                   ของเทศบาลเป็นร้านเล็ก ๆ ซึ่งมักมีข้อจำกัดในการรับเศษวัสดุ ทำให้เทศบาลต้องเก็บรวบรวมขยะที่ยังไม่
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196