Page 192 - kpi10607
P. 192
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
1
สามารถขายให้กับร้านเหล่านี้ไว้ก่อน และจะต้องขนส่งออกไปร้านที่ใหญ่กว่า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่นอกพื้นที่
เกิดภาระทางค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยเทศบาลจะต้องเป็นผู้รับภาระนี้ในช่วงแรก
อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวก็ค่อย ๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ในระยะแรก เทศบาลตำบลกำแพงเพชร สถาบันพระปกเกล้า
แก้ปัญหาระยะสั้นโดยรับภาระค่าขนส่งขยะและเก็บรวบรวมขยะเอง ประกอบกับดำเนินการแก้ปัญหาทางอื่น
ควบคู่กันไป คือ การประชาสัมพันธ์โครงการและพยายามติดต่อกับร้านรับซื้อของเก่านอกพื้นที่ให้เข้ามารับซื้อ
ของในพื้นที่ของเทศบาล โดยเมื่อโครงการประสบผลสำเร็จในวงกว้าง ธุรกิจร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่เทศบาล
ก็เกิดขึ้นอย่างมากมายดังที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น จึงทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดไป
ปัญหาอีกประการหนึ่งของโครงการธนาคารขยะคือ การเผยแพร่ความรู้ในการแยกขยะ ในช่วงเริ่มแรก
ของการดำเนินโครงการ เทศบาลประสบปัญหาการขาดความรู้ความเข้าใจของประชาชนในเรื่องการคัดแยกขยะ
ซึ่งมักจะมีการแยกขยะผิดประเภท หรือเป็นการแยกขยะที่ไม่ละเอียดไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร เทศบาลจึงได้
เร่งจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยจัดการเผยแพร่ความรู้ในการคัดแยกขยะเพิ่มเติม จากกลุ่ม อสม. โดยมุ่งเน้น
ให้ประชาชนมีความเข้าใจในการคัดแยกขยะมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งหัวหน้าชุมชนเพื่อให้มีการดูแล
และให้คำแนะนำในการแยกขยะภายในครัวเรือนกับประชาชนในชุมชนของตนเอง ซึ่งวิธีการนี้เป็นการใช้
ประโยชน์จากการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้ประชาชนเป็นผู้ดำเนินการ พูดคุย และถ่ายทอดความรู้ที่
ถูกต้อง อาศัยความสนิทชิดเชื้อ และความเป็นกันเองระหว่างประชาชนด้วยกันในชุมชน การแก้ไขปัญหา
ดังกล่าวได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยพบการคัดแยกขยะผิดประเภทหรือไม่ได้มาตรฐานในระยะหลังนั้นน้อยกว่า
เดิมจนแทบไม่พบกรณีดังกล่าว วิธีการแก้ไขป้องกันอีกวิธีการหนึ่งคือ เทศบาลจะมีเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจขยะ
ที่คัดแยกมาจากที่บ้านในลักษณะการเก็บตกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของขยะคัดแยกก่อนที่จะนำมาฝากเข้าไว้
กับทางธนาคาร
ความยั่งยืนในการดำเนินโครงการ
ปัจจัยความยั่งยืนของโครงการในประการแรก คือ การที่โครงการธนาคารขยะมีความสามารถในการ
เลี้ยงตัวเองได้และลดการพึ่งพิงงบประมาณของเทศบาล คือ โครงการธนาคารขยะใช้รูปแบบการดำเนิน
โครงการที่ใช้งบประมาณที่น้อยเป็นทุนเดิม โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนอาคารสถานที่ และในส่วนของงบประมาณ
การปฎิบัติการนั้น เจ้าหน้าที่ของธนาคารจะเข้ามาทำงานในลักษณะของอาสาสมัคร นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการ
ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่จำเป็น จะได้รับการสนับสนุนจากเงินปันผลของสหกรณ์ ผลกำไรประกอบการจากร้านค้า
น้ำหมักชีวภาพ และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล อีกทั้งยังมีเงินสนับสนุนจากผลประกอบการของ
ศูนย์อาหารซึ่งเป็นโครงการเสริมที่ทำในลักษณะเป็นเทศพาณิชย์เพื่อหารายได้เข้าปันผลจำนวนหนึ่งเป็นงบของ
ธนาคาร
อีกปัจจัยหนึ่ง คือ การที่ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งพื้นฐานสำคัญของสิ่งนี้คือ การที่
ประชาชนเกิดจิตสำนึกความเป็นเจ้าของร่วมกันของสังคม และเกิดจิตอาสาสมัคร เมื่อประชาชนได้เข้ามา
มีบทบาทสำคัญต่อโครงการที่พวกเขาได้ร่วมคิดร่วมสร้างขึ้นแล้ว โครงการธนาคารขยะนี้จึงได้รับการสนับสนุน
และการเข้ามาร่วมงานอย่างแข็งขันของประชาชนในวงกว้าง อุปกรณ์การใช้งานในธนาคารก็มักจะได้รับความ
อนุเคราะห์จากกลุ่มประชาชนเป็นผู้นำมาบริจาคให้กับธนาคารขยะ สิ่งเหล่านี้จึงได้กลายเป็นปัจจัยผลักดัน
สำคัญที่ทำให้ธนาคารขยะได้รับแรงสนับสนุนจากชุมชนทั้งกำลังคนและลดค่าใช้จ่าย จนมีการดำเนินการ
ต่อเนื่องและนำไปสู่ความยั่งยืนของโครงการได้ในที่สุด