Page 173 - kpi10607
P. 173

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




          1        ระดับของประชาชนหรือชุมชนที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่ที่เทศบาลตำบลอมก๋อยได้ลงไปให้ข้อมูล (Inform) จัดทำ

              สถาบันพระปกเกล้า   เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ ทำป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นเทคนิควิธีการให้ข้อมูลข่าวสาร (การสื่อสารทางเดียว) เพื่อให้



                   ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดงาน รวมทั้งการเข้าไปประชาสัมพันธ์หรือทำความเข้าใจในเวทีประชาคม
                   เป็นการร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนกับประชาชนได้เข้าใจถึงเหตุผลของโครงการนี้และประชาชนได้ตอบสนอง

                   ด้วยการเข้าร่วมทำกิจกรรม (Involve) กับเทศบาลตำบลอมก๋อย ทำให้ระดับการมีส่วนร่วมในโครงการนี้จึง
                   เน้นหนักไปใน 2 ระดับ ดังที่กล่าวมา และเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับลักษณะ

                   การมีส่วนร่วมของประชาชนดังนี้

                         1)  การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากการดำเนินโครงการโดยเฉพาะในการจัดเตรียมงานเป็นหน้าที่
                   ของเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลอมก๋อย ที่ได้ร่วมมือกันทำงานทั้งสำนักงาน ทำให้ช่วงสัปดาห์ในการจัดเตรียมงาน

                   กีฬาชายหาดต้านภัยแล้งในแต่ละปี เป็นช่วงสัปดาห์ที่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ได้สละเวลาในการทำงานทุกช่วงบ่ายใน
                   ระหว่าง 2-3 วันแรกก่อนวันเปิดงาน  เพื่อร่วมกันจัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการเป็นคณะกรรมการในการ
                   แข่งขันกีฬา และในรูปของคณะกรรมการ/คณะทำงานที่ได้มีการแบ่งส่วนงานในการทำหน้าที่


                         2)  การมีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชนเกิดขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรม นับตั้งแต่
                   ส่งรายชื่อผู้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาแต่ละประเภท ในนามตัวแทนของชุมชน เนื่องจากจุดมุ่งหมายของการแข่งขัน
                   ต้องการให้ตัวแทนแต่ละชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชน

                   เน้นหนักไปที่การเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาแต่ละประเภทการแข่งขันมากกว่าการเข้ามามีส่วนร่วมในการคิดจัดทำ
                   โครงการ ยกเว้นในกรณีของการประชุมประชาคมตำบลเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในการจัดกิจกรรม อย่างไรก็ดี
                   บทบาทที่เกิดขึ้นของชาวบ้านในชุมชนต่างๆ กลับทำให้กิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนและมีคนเข้าร่วมจำนวน

                   มาก ไม่เว้นแม้กระทั่งชุมชนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงได้เข้ามาร่วมแข่งขันด้วย หรือแม้
                   กระทั่งกลุ่มชาติพันธุ์อื่นก็ได้ส่งตัวแทนเข้ามาร่วมแข่งขันด้วย


                      การระดมทรัพยากร/ทรัพยากรที่ใช้

                         โครงการนี้ได้บรรจุอยู่ในเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายทั่วไปประจำปีงบประมาณของแต่ละปี ดังใน
                   กรณีการจัดงานครั้งที่ 2/2549 ได้นำงบประมาณในเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายทั่วไปประจำปีงบประมาณ

                   2549 ประเภทรายจ่ายเกี่ยวกับการรับรองหรือพิธีการ และตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2549 ข้อ 6
                   ยุทธศาสตร์พัฒนาด้านการบริการสาธารณสุขและสุขภาพอนามัย (6.1) แนวทางจัดให้มีการบริการสาธารณสุข
                   และสุขภาพอนามัยอย่างทั่วถึง ลำดับที่ 5 สนับสนุนโครงการกีฬาเพื่อสุขภาพของประชาชน ของเทศบาลตำบล

                   อมก๋อย เป็นเงิน 50,150 บาท (ห้าหมื่นหนึ่งร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ตามประมาณการค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย
                   ค่าจัดซื้อถ้วยรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1, 2, 3 ค่าจัดสถานที่ เครื่องเสียง อุปกรณ์การแข่งขัน
                   ค่าอาหารและเครื่องดื่มในวันปิดงาน และค่าอื่นๆ เช่น พลุไฟ ป้ายประชาสัมพันธ์ น้ำดื่มคณะกรรมการและ

                   นักกีฬา เป็นต้น โดยงบประมาณทุกหมวดสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

                         ในขณะที่งบประมาณปีถัดไป ได้มีการเพิ่มจำนวนเงินสนับสนุนการดำเนินโครงการมากขึ้น เช่น ใน
                   ปีงบประมาณ พ.ศ.2550 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 90,000 บาท ซึ่งแบ่งจากงบประมาณรายจ่ายของกองการศึกษา

                   แผนงานการศึกษา งานกีฬาและนันทนาการ เพื่อใช้จ่ายในการจัดทำโครงการกีฬาเยาวชนและประชาชน ตั้งไว้
                   150,000 บาท ให้นำมาใช้จ่ายในโครงการแข่งขันกีฬาชายหาดต้านภัยแล้ง ประจำปี 2550 จำนวน 90,000 บาท
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178