Page 175 - kpi10607
P. 175

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




          1        และร่วมชมจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังได้ส่งรายละเอียดเชิญชวนชุมชนต่างๆ ให้ส่งตัวแทนเข้าร่วมใน

              สถาบันพระปกเกล้า   หลากหลายประเภทกีฬาหรือกิจกรรมโดยตรงไปยังชุมชน พร้อมกับหลักเกณฑ์รายละเอียดในการเข้าร่วม



                   แข่งขัน ทำให้แต่ละชุมชนเกิดความตื่นตัวที่จะส่งตัวแทนเข้าร่วมในการแข่งขันแต่ละประเภท ส่งผลไปถึงการ
                   มีส่วนร่วมของประชาชนได้อีกมิติหนึ่ง


                         3)  ประชาชนเห็นความสำคัญและเข้าร่วม แม้ว่าโดยประเด็นหลักของการจัดงานคือการต้องการให้
                   ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น จึงต้องการให้ประชาชนได้ช่วยกันอนุรักษ์และ

                   รักษาแหล่งน้ำ อย่างไรก็ดี หากมองในเชิงด้านบวกด้วยการแปลงวิกฤตให้เป็นโอกาสด้วยการปรับสภาพพื้นที่
                   แห้งแล้งให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน ดึงชาวบ้านให้เข้ามาร่วมในกิจกรรม
                   ที่หลากหลายและทุกคนได้เข้ามาร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อให้ชุมชนของตนเองนั้นชนะการแข่งขัน ความร่วมมือ

                   ของประชาชนเกิดขึ้นในระหว่างก่อนเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรม ด้วยการเตรียมความพร้อมทั้งผู้แข่งขันและ
                   เครื่องไม้เครื่องมือที่จะใช้ การร่วมใจกันจัดเตรียมสิ่งต่างๆ ก่อนเข้ามาร่วมแข่งขัน จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึง
                   การใส่ใจและให้ความสำคัญที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของชาวบ้าน แม้ว่าปัญหาภัยแล้งจะถูกมองข้ามไปก็ตาม
                   แต่นั่นก็หมายความถึงว่าประชาชนใส่ใจกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชาวอมก๋อยเหมือนกัน และแปลง

                   สภาพพื้นที่ภัยแล้งให้เป็นความสนุกสนานของประชาชนได้

                      อุปสรรคในการดำเนินโครงการและการแก้ไขปัญหา


                         1)  ความชัดเจนในเป้าหมายหลักของการทำกิจกรรม ด้วยสภาพปัญหาที่ทำให้เกิดกิจกรรมกีฬา
                   ชายหาดต้านภัยแล้งที่เป็นผลจากความต้องการให้ประชาชนมาทำกิจกรรมแข่งขันกีฬาร่วมกันและพร้อมกับการ

                   บอกกล่าวเล่าขานถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพพื้นที่ที่ใช้ในการจัดงานอันเป็นผลจากภัยแล้งนั้นถูกละเลยหรือ
                   มองข้ามเปลี่ยนเป็นความสนุกสนานและความสุขของประชาชนแทน ทำให้เป้าหมายที่แม้ว่าจะให้ความสำคัญใน
                   การจัดการแข่งขันกีฬาให้ทั้งเยาวชนและชาวบ้านก็ตาม แต่เจตนาเริ่มต้นนั้นยังไม่เกิดผลชัดเท่าที่ควร นั่นคือ

                   การให้ประชาชนตระหนักถึงภัยแล้งที่เกิดจากการขาดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การตัดไม้
                   ทำลายป่าของชาวบ้าน ทำให้กิจกรรมจึงดูเหมือนเป้าหมายหลักที่เป็นจุดเริ่มต้นในการจัดทำโครงการได้ขาดหาย
                   ไป แม้ว่าจะมีการอธิบายให้รับทราบกันในช่วงระหว่างการเปิดงานกิจกรรมก็ตาม


                         2)  ระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมไม่เป็นไปตามกำหนด เนื่องจากฤดูแล้งทำให้พื้นที่ในลำน้ำแม่ต๋อม
                   ที่กลายเป็นพื้นที่แห้งแล้งเหลือแต่ทรายนั้นมีช่วงฤดูกาลที่ไม่แน่นอนตามสภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลง
                   ไป ดังนั้น การประเมินหรือกำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมในช่วงใด จำเป็นต้องมีการสำรวจพื้นที่ในการ

                   จัดกิจกรรมก่อนทุกครั้ง เพื่อกำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมได้ถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์
                   ในการจัดทำกิจกรรม ทำให้การกำหนดระยะเวลาในการจัดกีฬาชายหาดต้านภัยแล้งแต่ละปีจึงไม่สามารถระบุ
                   วันเวลาได้อย่างชัดเจน ในขณะเดียวกัน การแข่งขันกีฬาที่มีความหลากหลายประเภท พร้อมกับมีชุมชนเข้าแข่ง

                   ขันจำนวนมากขึ้น จึงส่งผลถึงระยะเวลาในการแข่งขันกีฬาทำให้ล่าช้าออกไปกว่าที่กำหนดในหลากหลาย
                   ประเภทกีฬา และไม่สามารถแข่งขันได้ทุกชุมชน บางครั้งยังต้องอาศัยการประกาศให้ลงสมัครเป็นตัวแทนใน
                   ขณะกำลังจะจัดการแข่งขัน


                         3)  ภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย แม้ว่าด้วยสภาพภูมิอากาศในช่วงการจัดกิจกรรมนั้น เป็นช่วงฤดูแล้งที่
                   อากาศร้อน แต่สภาพที่เกิดขึ้นกับการจัดงานแทบทุกปีคือ การเกิดฝนตกหนักที่เป็นอุปสรรคทำให้ลำน้ำแม่ต๋อม
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180