Page 176 - kpi10607
P. 176
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
1
มีน้ำเข้าท่วมพื้นที่จัดการแข่งขันกีฬา และทำให้หลายประเภทกีฬาที่จัดบนพื้นที่ลำน้ำที่แห้งแล้งต้องหยุดการแข่ง
ขันลง ซึ่งไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่า ในช่วงฤดูแล้งนั้นจะมีฝนหลงฤดูหรือไม่ จึงทำให้เป็นอุปสรรคประการหนึ่ง
ที่ทำให้การจัดกิจกรรมบนลำน้ำแม่ต๋อม ต้องหยุดชะงักลงในบางช่วงเวลา สถาบันพระปกเกล้า
ความยั่งยืนในการดำเนินโครงการ
1) ภาวะผู้นำ เนื่องจากการดำเนินโครงการและการควบคุมการจัดกิจกรรมทั้งหมด อยู่ภายใต้การ
กำกับดูแลของนายบุญเย็น ใจตา นายกเทศมนตรีตำบลอมก๋อย ที่ได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแปลง
พื้นที่ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทำให้เกิดกิจกรรมขึ้นมา แต่สิ่งที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้นั้น จำเป็นต้อง
อาศัยการถ่ายทอดภาวะผู้นำไปสู่บุคคลอื่นๆ ถึงแม้ว่าตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกเทศมนตรีคน
ปัจจุบัน ได้ทำให้เกิดการดำเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
(พ.ศ.2552) ที่ยังคงให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมกีฬาชายหาดต้านภัยแล้งอยู่เสมอมา และด้วยการดำรง
ตำแหน่งต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 2 จึงมีส่วนช่วยสนับสนุนให้โครงการสามารถดำเนินการได้เป็นประจำทุกปี
2) การเข้าร่วมของประชาชน ถึงแม้จะมีการจัดกิจกรรมให้เกิดขึ้น แต่หากขาดซึ่งการเข้ามาร่วม
กิจกรรมของประชาชนด้วยแล้ว โครงการนั้นก็ไม่อาจถือได้ว่าทำให้เกิดผลสำเร็จหรือก่อให้เกิดความยั่งยืนให้
กับโครงการได้แต่ประการใด โดยเฉพาะในโครงการกีฬาชายหาดต้านภัยแล้ง สิ่งที่ช่วยทำให้เห็นถึงความยั่งยืน
ของโครงการคือ การเข้าร่วมของประชาชนที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จะเห็นได้จากจำนวนชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม
โดยเฉพาะชุมชนข้างเคียงที่อยู่นอกเขตพื้นที่เทศบาลตำบลอมก๋อย เช่น ชุมชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล
ยางเปียง เป็นต้น ได้เข้าร่วมกิจกรรมในหลากหลายประเภท และได้รับรางวัลจากการแข่งขัน ทำให้ชุมชนเกิด
การขยายตัว ด้วยการบอกต่อรวมถึงการประชาสัมพันธ์ที่ขยายวงไปถึงชุมชนอื่น เป็นส่วนช่วยสร้างขวัญและ
กำลังใจให้กับประชาชนได้มีโอกาส อยากจะเข้าร่วมในทุกๆ ปี และนั่นย่อมส่งผลต่อการทำให้เกิดความยั่งยืน
ในการคงอยู่ของกิจกรรมดังกล่าวต่อไป
3) การสรรหากิจกรรมใหม่ๆ ที่ประชาชนต้องการเข้ามาร่วม ในแต่ละปีที่มีการจัดกีฬาชายหาดต้าน
ภัยแล้ง มีการเพิ่มเติม ดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงประเภทกีฬาหรือแม้กระทั่งการแข่งขันประเภทอื่นๆ เพื่อให้
เกิดความเหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่อยากจะเข้าร่วมกิจกรรม อันเกิดจากการ
สอบถามความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เพื่อให้ได้รับรู้ความต้องการที่แท้จริง โดยเฉพาะการทำให้เห็นภาพ
การร่วมมือกันทำกิจกรรม เช่น การทำขนมปาด ที่ต้องใช้ระยะเวลาหลายชั่วโมง ในการกวนขนมร่วมกันของ
ชาวบ้านแต่ละชุมชน การแข่งขันทำลาบ เป็นต้น ในช่วงแรกนั้นเป็นเพียงการแข่งขันกีฬาของเยาวชนและ
ชาวบ้านในแต่ละประเภทกีฬา แต่ในการจัดงานในปีต่อๆ มา เริ่มให้ความสำคัญกับอาหารพื้นบ้านและผลผลิต
ในพื้นที่เพื่อให้การมีส่วนร่วมของประชาชนไม่เพียงแต่จำกัดเฉพาะการแข่งขันกีฬาเพียงอย่างเดียว แต่ยัง
ครอบคลุมไปถึงการดึงประเพณี วิถีชีวิต ผลผลิต อาหารพื้นบ้านเข้ามาร่วมในกิจกรรมด้วย
4) การชี้แจงทำความเข้าใจในความสำคัญของลำน้ำแม่ต๋อม แม้ว่าประเด็นนี้จะเป็นเพียงส่วนย่อย
ในการทำให้เกิดความยั่งยืนของโครงการ แต่ด้วยความสำคัญของแหล่งน้ำ ถึงแม้จะมีความพยายามในการ
สร้างฝายให้เกิดขึ้นทุกปี เพื่อมากักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากช่วงฤดูน้ำหลาก ฝายเหล่านั้นก็
มักถูกพังทลายไปตามกระแสน้ำ การเก็บน้ำจึงมีไม่มากนัก ดังนั้น ในการประชาสัมพันธ์โครงการหรือเข้าไป
ชี้แจงให้กับชุมชนต่างๆ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของแหล่งน้ำแม่ต๋อมจึงได้ถูกหยิบยกมาเป็น