Page 274 - kpi11663
P. 274
2
เครือข่ายสำคัญที่เข้ามาขับเคลื่อนในโครงการ มีบทบาทและหน้าที่การดำเนินงาน ดังนี้
1. องค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นก ในฐานะผู้ริเริ่มและประสานงานหลักและเชื่อมโยง
ระหว่างเครือข่ายมีหน้าที่ในการจัดประชุม ฝึกอบรม สนับสนุนงบประมาณเกี่ยวกับโครงการ
กิจกรรมนักอนุรักษ์น้อย
2. เครือข่ายวิชาการ ได้แก่ โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร อำเภอเขื่องใน จังหวัด
อุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีบทบาทหลักทางด้านวิชาการ เป็นพี่เลี้ยงและวิทยากร
สนับสนุนงานด้านวิชาการฐานข้อมูล ได้แก่ งานด้านการเป็นวิทยากรงานพฤกษศาสตร์โรงเรียน
สนับสนุนแนวคิดและวิธีการในการจัดทำฐานข้อมูลทางพันธุกรรมพืชและสัตว์ วิธีการบันทึกข้อมูล
ประวัติศาสตร์ชุมชน ตลอดจนการให้ข้อมูลด้านการจัดทำทะเบียนพันธุ์พืช การดองพืช
การดองสัตว์ ทะเบียนภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
3. เครือข่ายนักอนุรักษ์น้อย ได้แก่ โรงเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 5 แห่งและ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 5 แห่ง สำหรับโรงเรียนประถมศึกษามีครูประถมศึกษาทำหน้าที่ในการ
คัดเลือกนักอนุรักษ์น้อยจำนวน 253 คน เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน
5 แห่งขององค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นก มีครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก ทำหน้าที่ในการ
ตัดสินใจเลือกเด็กปฐมวัยเข้ามาเป็นนักอนุรักษ์น้อยจากระดับชั้นอนุบาล 2 และอนุบาล 3 จำนวน
122 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลกิจกรรม ติดตามและประเมินผล พร้อมทั้งรายงานผลการทำ
กิจกรรมให้เครือข่ายและองค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นกรับทราบความคืบหน้าในการดำเนินงาน
โดยนักอนุรักษ์ทั้งสองเครือข่ายดำเนินกิจกรรมสำคัญ ได้แก่
= กิจกรรมการสำรวจพันธุ์พืชในป่าปกปัก
= กิจกรรมการทำความสะอาดรอบป่าปกปัก
= กิจกรรมการติดรหัสพืชในป่าปกปัก
= กิจกรรมการสำรวจข้อมูลด้านอาชีพในชุมชน
= กิจกรรมการสำรวจข้อมูลด้านวัฒนธรรม ประเพณี ในชุมชน
= กิจกรรมการสำรวจข้อมูลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
รางวัลพระปกเกล้า’ 60