Page 270 - kpi11663
P. 270

26


              ปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียงเห็นชอบที่จะไม่ดำเนินการตามลำพัง แต่เสนอแนะให้ประสานงานไป
              ยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำเข้ามาร่วมตรวจสอบน้ำก่อนจัดทำโครงการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อสร้าง
              มาตรฐานการทำงานและให้การรับรองว่าน้ำที่จะใช้นั้นมีมาตรฐานในการอุปโภคบริโภค สามารถ
              นำมาใช้ในการประกอบอาชีพได้ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นกเริ่มทำการสำรวจพื้นที่เพื่อ
              เตรียมความพร้อมในการดำเนินงานธนาคารน้ำใต้ดิน รวมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำในพื้นที่บ้านผักแว่น

              หมู่ 3 ส่งตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี จากการสำรวจพื้นที่ พบว่า
              ต้องดำเนินการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน 2 บ่อ คือ บ่อหลัก (สะดือน้ำ) และบ่อลม (บ่อชาร์จ) โดยบ่อ
              หลักที่เป็นบ่อน้ำผุดสำคัญ คือ หนองใหญ่ หมู่ 8 ไหลผันไปยังพื้นที่ที่รับประโยชน์ได้จำนวน
              625 ไร่ ซึ่งได้แก่ บ้านคำสมอ หมู่ 7 บ้านหนองใหญ่ หมู่ 8 และบ้านคำสมอหมู่ 9 ส่วนบ่อที่สอง
              คือ บ่อลมหรือบ่อชาร์จนั้น สภาองค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นกได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุน
              ให้ดำเนินงานตามโครงการธนาคารน้ำใต้ดินในหมู่ 1 จำนวน 2 บ่อ บนพื้นที่ส่วนตัวของสมาชิก
              ชุมชนจำนวน 2 ราย โดยมีพื้นที่ที่รับประโยชน์จากธนาคารน้ำใต้ดิน จำนวน 1,250 ไร่ ได้แก่

              บ้านยางขี้นก หมู่ 1, หมู่ 2 ส่วนบ่อลมในหมู่ 10 อีกจำนวน 2 บ่อ บนพื้นที่ส่วนตัวของสมาชิก
              ชุมชนจำนวน 1 ราย โดยมีพื้นที่ที่รับประโยชน์จากธนาคารน้ำใต้ดิน จำนวน 625 ไร่ ได้แก่
              บ้านยางขี้นก หมู่ 2, หมู่ 10 หลังจากการสำรวจพื้นที่และได้ข้อมูลเรียบร้อยแล้วทางคณะกรรมการ
              ดำเนินงานโครงการธนาคารน้ำใต้ดินจึงประสานแผนไปยังสำนักงานทรัพยากรน้ำ ภาค 11 จังหวัด
              อุบลราชธานี เพื่อทำการขุดเจาะบ่อหลักในหมู่ 8 เป็นบ่อแรกและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม


                    ความสำเร็จขององค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นกนั้นถือว่าเป็นการสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน
              ที่มาจากความยินยอมของสมาชิกในชุมชนเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำและแบ่งปันผลประโยชน์
              ให้แก่พื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งบประมาณส่วนตัวของสมาชิก
              ในชุมชนจำนวน 2 ราย ในการลงทุนขุดบ่อธนาคารน้ำใต้ดินจำนวน 80,000 บาทและจำนวน
              22,000 บาท ภายใต้ความเชื่อมั่นและเล็งเห็นประโยชน์ในภาพรวมสำหรับตำบลยางขี้นก และถือว่า

              เป็นการสร้างนวัตกรรมเป็นแห่งแรกของอำเภอเขื่องใน เพราะเป็นท้องถิ่นแห่งแรกในจังหวัด
              อุบลราชธานีที่ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ดังกล่าว ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบล
              ยางขี้นกยังมีแผนงานที่จะดำเนินการเพิ่มธนาคารน้ำใต้ดินให้ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางขี้นก
              ตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง ดินเค็ม น้ำเหลืองจากสนิมเหล็ก ความสำเร็จของ
              โครงการดังกล่าวมีเครือข่ายที่เข้ามาร่วมดำเนินการ ได้แก่





                                                                  รางวัลพระปกเกล้า’ 60
   265   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275