Page 273 - kpi11663
P. 273

2 2


             การเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างรวดเร็ว ได้ศึกษาเรียนรู้ และปลูกฝังให้ตระหนักถึงความสำคัญ
             ของทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่ในชุมชน ทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนวัฒนธรรม
             ขนบธรรมเนียมและประเพณีอันดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ความเป็นมาและภูมิหลัง
             ของชุมชนที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ และให้เด็กเกิดความรัก ความผูกพันหวงแหนและ
             ภาคภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง นอกจากนี้ ยังชวนให้เด็กดำเนินการจัดเก็บข้อมูล

             ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประวัติทางวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในพื้นที่
             ระหว่างการลงพื้นที่สำรวจฐานทรัพยากรท้องถิ่นอีกเพื่อทำให้เด็กกลุ่มนี้ภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของ
             ตนเอง

                  กระบวนการดำเนินโครงการ มีการบูรณาการกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
             และเด็กประถมศึกษาได้เรียนรู้งานฐานทรัพยากรท้องถิ่นทั้ง 6 ด้าน ที่สำคัญ ได้แก่

                  1.  งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น


                  2.  งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น

                  3.  งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น

                  4.  งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น


                  5.  งานศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น

                  6.  งานสนับสนุนการจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น

                  ความโดดเด่นของโครงการนี้ คือ ความร่วมมือของเครือข่ายที่ผลักดันเรื่องการจัดทำฐาน
             ข้อมูลป่าชุมชนจนกระทั่งได้ประโยชน์ที่สำคัญแก่ท้องถิ่น กล่าวคือ ข้อมูลฐานทรัพยากรของตำบล
             ยางขี้นก ได้แก่ พืชในพื้นที่ป่าปกปัก การติดรหัสประจำชนิดแก่พืชและสัตว์ในพื้นที่ การค้นพบ
             สัตว์แปลกและหายาก การจัดทำทะเบียนวิถีชีวิตในรอบปีโดยระบุเดือนประเพณีบุญสำคัญต่างๆ

             ในพื้นที่ การจัดทำทะเบียนโบราณสถานและโบราณคดีในชุมชน รวมทั้งยังเป็นโครงการที่เกิดขึ้น
             โดยใช้นักอนุรักษ์น้อยนี้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย








             รางวัลพระปกเกล้า’ 60
   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277   278