Page 275 - kpi11663
P. 275
2
= กิจกรรมการสำรวจข้อมูลด้านโบราณสถาน โบราณวัตถุในชุมชน และกิจกรรม
พฤกษศาสตร์ในโรงเรียน
4. เครือข่ายผู้สูงอายุ ได้แก่ โรงเรียนผู้สูงอายุ สภาวัฒนธรรมตำบลยางขี้นก เป็นแหล่ง
เรียนรู้ของนักอนุรักษ์น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ตลอดจน
ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นลงในฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น
5. เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน มีบทบาทสำคัญในการเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้
ถ่ายทอดศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น และยังเป็นวิทยากรประจำป่า
ปกปัก ร่วมสำรวจและรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่นกับนักอนุรักษ์น้อยระหว่างการลงพื้นที่
6. เครือข่ายท้องที่ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 10 หมู่บ้าน ดำรงตำแหน่งเป็นคณะ
กรรมการป่าชุมชน อาสาสมัครพิทักษ์ป่า ซึ่งแต่ละท่านจะแบ่งหน้าที่ในการเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้
ข้อมูลงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น 6 ด้าน ทำหน้าที่ร่วมทำกิจกรรมและร่วมเก็บข้อมูลกับนักอนุรักษ์
น้อย
7. เครือข่ายร่วมท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนโหนน อำเภอวารินชำราบ
จังหวัดอุบลราชธานี มีบทบาทในการเป็นเป็นแหล่งศึกษาดูงานและช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน
และแลกเปลี่ยนข้อมูลในการจัดทำงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นให้องค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นก
8. เครือข่ายพลเมือง ได้แก่ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนและผู้ปกครอง
เด็กนักเรียน โดยอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครพิทักษ์ป่า อำนวย
ความสะดวกในการลงพื้นที่ป่าให้แก่นักอนุรักษ์น้อยระหว่างการเก็บงานฐานข้อมูล ส่วนผู้ปกครอง
เด็กนักเรียนมีบทบาทเป็นผู้ช่วยระหว่างการลงพื้นที่ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะลงดำเนินการทำกิจกรรมเก็บ
ข้อมูลพร้อมกับนักอนุรักษ์น้อยในแต่ละครั้ง
9. เครือข่ายศาสนา ได้แก่ พระภิกษุจากวัดบ้านคำเสมอ วัดป่าดงบ้านตาด วัดเหนือยาง
ขี้นก มีบทบาทเป็นวิทยากรประจำแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ โบราณคดี
โบราณวัตถุ เพื่อถ่ายทอดความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีให้แก่นักอนุรักษ์น้อย
ผลสำเร็จที่โดดเด่นจากการดำเนินโครงการนี้เห็นได้อย่างชัดเจนวัดผลได้จากการที่ตำบล
ยางขี้นกไม่มีการลักลอบเนื่องจากชาวบ้านที่เคยรุกล้ำพื้นที่ป่าได้ช่วยเฝ้าระวังพวกลักลอบตัดไม้
รางวัลพระปกเกล้า’ 60