Page 269 - kpi11663
P. 269
26
โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน
จุดเริ่มต้นของโครงการธนาคารน้ำใต้ดินริเริ่มขึ้นจากสภาพปัญหาน้ำที่ไม่เพียงพอในช่วง
ฤดูแล้งโดยเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบภัยแล้งจำนวนทั้งสิ้น 18,814 ไร่ ประกอบกับน้ำบาดาล
ที่ขุดเจาะมาสำหรับอุปโภคและบริโภคเป็นน้ำที่คุณสมบัติไม่ได้มาตรฐาน มีปัญหาน้ำเค็มในพื้นที่
บ้านยางขี้นก จำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1, หมู่ 2, หมู่ 10 บ้านยางขี้นก และยังมีปัญหาน้ำเป็น
สนิมเหล็กในพื้นที่อีก จำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านผักแว่น หมู่ 3,หมู่ 4 และบ้านโพนสิน หมู่ 5
นอกจากนี้พบน้ำกร่อยเป็นสนิมเหลืองอีกจำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านคำสมอ หมู่ 7,หมู่ 9 และ
บ้านหนองใหญ่ หมู่ 8 กล่าวได้ว่า ตำบลยางขี้นกประสบปัญหาเรื่องน้ำอุปโภคและบริโภคเกือบ
ร้อยละ 90 ของพื้นที่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาที่รุนแรงเพราะประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทาง
ด้านเกษตรกรรม เช่น การทำนา ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ การประกอบอาชีพดังกล่าวมีความจำเป็น
อย่างยิ่งที่จะต้องใช้น้ำตลอดทั้งปี
ดังนั้น นายเทียน แผลงฤทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นกจึงได้เริ่มหาวิธีการ
แก้ไขปัญหาด้วยการค้นหาข้อมูลทางสื่อเกี่ยวกับนวัตกรรมการผันน้ำจากผู้เชี่ยวชาญอย่างเร่งด่วน
และพบว่ามีการดำเนินงานโครงการเกี่ยวกับธนาคารน้ำใต้ดินของท่านเจ้าคุณสมานสิริปญฺโญแห่ง
สถาบันนิเทศศาสนคุณ วัดอาฮงศิลาวาส จังหวัดบึงกาฬ จึงติดต่อประสานงานไปเพื่อขอศึกษา
ข้อมูลและวิธีการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ท่านเจ้าคุณสมานสมานสิริปญฺโญได้แนะนำวิธีการ หลักการ
ดำเนินงาน และแนะนำให้นายเทียน แผลงฤทธิ์ ไปศึกษาดูงานที่เทศบาลตำบลศรีวิเชียร และ
องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เพราะเป็นท้องถิ่นที่ดำเนินการ
ธนาคารใต้ดินเช่นเดียวกัน ต่อมาในเดือนกันยายน 2559 ท่านเจ้าคุณสมานสิริปญฺโญได้มอบหมาย
ให้พระปลัดสุเมทต์ นายโกวิทย์ ดอกไม้ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนน้ำยืนวิทยา อำเภอน้ำยืน
จังหวัดอุบลราชธานี นายชาตรี ศรีวิชาฐา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน
จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมทีมงานได้เข้ามาให้ความรู้ด้านการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน รวมทั้ง
ติดตามสนับสนุนด้านวิชาการและแนวทางเทคนิคของการทำธนาคารน้ำใต้ดินอย่างใกล้ชิด จนทำให้
องค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นกสามารถดำเนินการในพื้นที่จริงได้ในวันที่ 26 เดือนธันวาคม 2559
วิธีการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายขององค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นกที่โดดเด่น
คือ การที่สมาชิกในชุมชน เครือข่ายจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ วัด หน่วยงานราชการ องค์กร
รางวัลพระปกเกล้า’ 60