Page 114 - kpiebook67026
P. 114
113
โดยผลของการประกาศใช้ National Civil and Commercial Code ("NCCC")
ซึ่งมีการปรับปรุงแก้ไขเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2015 โดยมาตรา 26 ของกฎหมาย NCCC
บัญญัติให้การใช้สิทธิของผู้เยาวต้องกระท�าผ่านทางการให้ความยินยอมจากผู้แทน
โดยชอบธรรมตามกฎหมาย ซึ่งกล่าวได้ว่า ผู้เยาวจะต้องมีอายุและวุฒิภาวะที่เพียงพอ
ต่อการด�าเนินการใด ๆ อันมีผลในทางกฎหมายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น
ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาสุขภาพของผู้เยาวนั้นมักจะถูกก�าหนดโดยกฎเกณฑ
ที่มีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับอายุของเด็กนั้น ส�าหรับวัยรุ่น (Adolescents)
ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณขึ้นไป จะได้รับการพิจารณาว่ามีสถานะเป็นผู้ใหญ่ (adults)
และได้รับเคารพต่อการตัดสินใจในเรื่องการรักษาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับร่างกายของ
ตนเอง ในขณะที่บุคคลที่มีอายุระหว่าง 13 ปี ถึง 16 ปีบริบูรณ จะได้รับการยอมรับ
ให้มีความสามารถในการตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการรักษาทางการแพทยได้ด้วยตนเอง
แต่ทั้งนี้การรักษาดังกล่าวจะต้องไม่เป็นการแทรกแซงหรือเป็นอันตรายอย่างร้ายแรง
ต่อชีวิตหรือความสมบูรณเป็นหนึ่งเดียวของร่างกาย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ “กระบวนการ
แทรกแซงทางการแพทย” ได้ถูกนิยามให้เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะก่อให้เกิดอันตราย
ต่อสุขภาพหรือความสมบูรณของร่างกายของผู้เยาว หรืออาจท�าให้ชีวิตของผู้เยาว
ตกอยู่ในความเสี่ยงภัยอันตราย ด้วยเหตุนี้ บุคคลมีอายุระหว่าง 13 ปี ถึง 16 ปีบริบูรณ
จะต้องให้ความยินยอมด้วยตนเองโดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้แทนโดยชอบธรรม
และการพิจารณาเกี่ยวกับการให้ความเห็นทางการแพทยจะต้องเป็นการไปหลัก
ผลประโยชนที่ดีที่สุด เพื่อท�าการวิเคราะหถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากการเข้า
67
สู่กระบวนการรักษาทางการแพทย หรือไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรักษาทางการแพทยด้วย
กระบวนการยื่นและพิจารณาค�าขอ
ตามกฎหมายว่าด้วยอัตลักษณทางเพศสภาพ ค.ศ. 2012 (Law No. 26.743)
ได้ก�าหนดกระบวนการพิจารณาทางปกครองเพื่อรับรองเพศสภาพไว้ โดยบัญญัติว่า
บุคคลทุกคนย่อมสามารถร้องขอให้มีการแก้ไขเกี่ยวกับการระบุเพศ รวมถึงการเปลี่ยนแปลง
ชื่อแรกและภาพถ่ายภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายฉบับนี้ โดยจะต้องมีการยื่นค�าร้อง
67 FELGTBI+, Right to Self-determination of Gender: Comparative law study
on five questions related to gender identity, p.17, Access July 20, 2023,
file:///C:/Users/Dell/Downloads/RIGHT_TO_SELF_DETERMINATION_OF_GENDER_
COMPARATIVE_LAW_STUDY.pdf