Page 23 - kpiebook67022
P. 23
22
3. สันติภาพ
2
สันติภาพหรือสันติสุข (Peace) เป็นสิ่งที่พึงประสงค์ในสังคม
แม้ว่าในโลกจะมีการนิยามความหมายที่แตกต่างกันไป แต่มีจุดร่วม
ของความหมายที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ไม่มีความรุนแรงทาง
กายภาพ ไม่มีความเหลื่อมลำ้าหรือมีความเหลื่อมลำ้าไม่มาก มีการเคารพ
สิทธิมนุษยชน เคารพความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ยอมรับความแตกต่าง
หลากหลาย การให้อภัย ไม่มีการปลูกฝังให้เกิดความเกลียดชังต่อกัน
เป็นต้น จากที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่ทุกสังคมน่าจะต้องการสถาปนาให้สันติภาพ
เกิดขึ้น แต่ทำาไมหลายสังคมจึงยังคงห่างไกลจากแนวคิดดังกล่าว
สันติภาพจากแนวคิดของ Aron (1966) มุ่งเน้นไปที่สันติภาพ
จะเกิดขึ้นได้หากปราศจากสงครามหรือความรุนแรงทางตรงในรูปแบบอื่นๆ
แต่นิยามเช่นนี้เพียงพอหรือไม่ในการให้คำาจำากัดความของคำาว่าสันติภาพ
Lederach (1997) นักวิชาการและนักขับเคลื่อนงานด้านสันติภาพ
เห็นว่าเกี่ยวข้องกับ ความปรองดอง ความเป็นหนึ่งเดียว การอยู่ดีกินดี
ความปลอดภัย การให้ความเคารพ ความรู้สึกการเป็นอิสระเนื่องจาก
ได้รับการปลดปล่อยจากความรู้สึกด้านลบ ในขณะที่ Galtung (1990)
บิดาแห่งสันติศึกษายุคใหม่ให้ความสำาคัญกับทั้งการไม่มีความรุนแรง
2 ในงานชิ้นนี้นิยามความหมายของคำาว่า สันติภาพและสันติสุขในความหมาย
เดียวกัน โดยแปลมาจากคำาว่า Peace สำาหรับในสังคมไทย คำาว่าสันติสุขถูกนำามาใช้
แทนที่คำาว่าสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในสมัย รัฐบาลคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ (คสช.) สำาหรับประเทศทางตะวันตก peace หมายถึงสันติภาพเชิงลบที่ไม่มี
ความรุนแรงทางกายภาพและสันติภาพเชิงบวกที่มีความเป็นธรรมในสังคม ไม่มีการ
ปลูกฝังให้เกลียดชังกัน เคารพในสิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียมกันของมนุษย์