Page 26 - kpiebook67022
P. 26
25
แนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
(Course of Fundamental Conflict Management by Peaceful Means)
ความเป็นศัตรู ในหลักการแล้วบุคคลที่สามเท่านั้นที่สามารถสร้าง
ความสัมพันธ์ระหว่างเหยื่อและผู้กระทำา เหยื่อสามารถเรียกร้องให้
ผู้กระทำาผิดชดใช้หรือถูกลงโทษ หรือแม้แต่การล้างแค้น สำาหรับ
ผู้กระทำาผิดอาจจะยอมรับผิด หรือถูกลงโทษจากเหยื่อ
ในขณะที่พระพรหมบัณฑิต (2561) ได้อธิบายคำาว่า ภาวนา
(ปรองดอง) โดยเน้นถึงจะมีกระบวนการปรองดองสมานฉันท์อย่างไร
ภายในจิตใจของผู้มีความขัดแย้ง ทำาอย่างไรจะลืมหรือให้อภัยกัน
ซึ่งเป็นเรื่องยากแต่ก็ต้องทำา พระพุทธพจน์ที่เกี่ยวข้องคือ สัพพะ
ทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทานเป็นการให้ชนะทั้งปวง
รวมถึงการให้อภัยทาน เป็นธรรมทานอย่างหนึ่ง เป็นการให้ที่ยากมาก
แต่การให้อภัยเหนือกว่าให้ทั้งปวง สังคมไทยต้องการการให้อภัย
ด้วยการให้อภัยกัน สามัคคีไม่เกิดถ้าไม่ให้อภัยกัน โดยเริ่มจากตัวเรา
ต้องให้อภัยก่อน พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า นะ หิ เวเรนะ เวรานิ เวรย่อม
ไม่ระงับด้วยการจองเวร หรือความรุนแรงไม่ระงับด้วยการตอบโต้กัน
แต่ อะเวเรนะ จะ สัมมันติ เวรย่อมระงับด้วยการ ไม่จองเวร
กล่าวโดยสรุป ความขัดแย้งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ
ความรุนแรงเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ การป้องกันไม่ให้คนใช้ความรุนแรง
เป็นสิ่งสำาคัญมาก งานชิ้นนี้เราได้ทราบถึงนิยามความหมาย ประเภท/
เหตุปัจจัยของความขัดแย้ง พลวัตและรูปแบบวิธีที่ใช้ในการจัดการความ
ขัดแย้ง กล่าวถึงความรุนแรงมี 3 ชั้นคือ ความรุนแรงทางตรง โครงสร้าง
และวัฒนธรรม ความรุนแรงทางตรงมองเห็นได้ชัดเจน ขณะที่ความรุนแรง
ทางโครงสร้างและวัฒนธรรม เป็นความรุนแรงในชั้นระดับที่ลึกลงไป