Page 24 - kpiebook67022
P. 24
23
แนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
(Course of Fundamental Conflict Management by Peaceful Means)
ทางกายภาพควบคู่ไปกับการมีสังคมที่เป็นธรรม Galtung ได้แบ่งสันติภาพ
ออกเป็น 2 แบบ คือ 1. สันติภาพทางบวกและ 2. สันติภาพทางลบ
สันติภาพทางลบนั้นเป็นเพียงความพยายามที่จะมีสันติภาพเพื่อยุติสงคราม
เท่านั้น แต่สันติภาพทางบวก หมายถึงการไม่มีสงครามและการทำาให้
ความรุนแรงในเชิงโครงสร้างหมดไปและทำาให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นใน
สังคม
สถานะสันติภาพในสังคมไทยเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ
ในโลกจัดทำาโดยหน่วยงานอิสระด้านวิชาการที่ชื่อว่า สถาบันเศรษฐศาสตร์
และสันติภาพ (Institute for Economics and Peace) ซึ่งมีการวัด
ระดับสันติภาพในโลกทุกปีทั้งสันติภาพเชิงลบ (Negative Peace) และ
สันติภาพเชิงบวก (Positive Peace) ในรายงานสันติภาพเชิงลบให้นิยาม
ของสันติภาพไว้คือ ปราศจากความรุนแรงหรือความกลัวต่อความรุนแรง
โดยมีตัวชี้วัดหลัก 3 ด้าน คือ 1. ความขัดแย้งภายในและระหว่างประเทศ
ที่ยังคงดำารงอยู่ 2. ความมั่นคงและปลอดภัยในสังคม 3. การทหาร
ผลของดัชนีสันติภาพโลกเชิงลบในปี 2022 ประเทศไทยได้อันดับดีขึ้น
หลายอันดับเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้ไทยได้อันดับ 103
จาก 163 ประเทศ ตัวชี้วัดที่คะแนนน้อยคือ ประชากรในเรือนจำา และ
การก่อการร้าย (การก่อความไม่สงบ) หากเปรียบเทียบในอาเซียนเราได้
คะแนนมากกว่าประเทศเมียนมาร์และฟิลิปปินส์ ส่วนไอซ์แลนด์ นิวซีแลนด์
และไอร์แลนด์ได้อันดับ 1, 2 และ3 ของโลก ในขณะที่อันดับท้ายสุด
ของโลกเป็นของอัฟกานิสถาน ตามมาด้วยเยเมนและซีเรียตามลำาดับ
(Institute for Economics and Peace, 2022) ในขณะที่สันติภาพ