Page 130 - kpiebook67021
P. 130
เรื่องเด่นอยากเล่า 7
People’s Audit Outcome & Impact
สถานี (6) นายวิเชียร ศรีจวง ข้าราชการครูบำนาญ (7) นายกฤษดาพงษ์
กิ่งเมือง เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสว่าง และ
(8) นายศรายุทธ อันทะไชย์ ประธานชมรมอาสาปลูกป่าในใจคน
ตามศาสตร์พระราชาจังหวัดร้อยเอ็ด
ผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจฝายร่องนาคำ การลงพื้นที่สำรวจสภาพ
ปัญหาจริงของฝายร่องนาคำในครั้งนี้ ทำให้ได้เห็น ได้รู้ปัญหาจริง จำนวน
4 ด้าน คือ 1. วัชพืชและต้นไม้ขนาดใหญ่เกิดบนคนดินกั้นฝายร่องนาคำ
ทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้เส้นทางสัญจรไปยังที่ดินทำนาของตนเองได้
ต้องเดินอ้อมระยะไกล 2. หน้าคันดินกั้นฝายร่องนาคำบางช่วงเป็นหลุม
เป็นบ่อ บางช่วงมีจอมปลวกขนาดใหญ่เกิดขึ้นปิดกั้นทางสัญจร 3. คันดิน
กั้นฝายบางช่วงถูกน้ำกัดเซาะเหลือดินอยู่ไม่มาก เสี่ยงต่อการพังทลาย
และส่งผลเสียต่อผลผลิตทางการเกษตรที่อยู่ใต้ฝายจำนวนหลายร้อยไร่
4. มีประชาชนสร้างที่อยู่อาศัยบนคันดินกั้นฝาย มาเป็นเวลานานประมาณ
15 ปี
เนื่องจากผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้จบหลักสูตรการให้บริการ
สาธารณะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) PA 9 จึงมี
แนวคิดที่จะขอรับทุนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม เพื่อยกระดับ
การให้บริการสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน จากสำนักวิจัย
และพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า การถอดบทเรียน: การลงพื้นที่จริงของ
ถือเป็นการตรวจสอบสภาพที่เป็นจริงของฝายร่องนาคำในปัจจุบัน ทำให้ได้
เห็นสภาพปัญหาที่เป็นจริงหลายด้าน ถ้าไม่มาวันนี้จะไม่รู้เลยว่าปัญหา
มีมาก เช่น เรื่องวัชพืช ต้นไม้ใหญ่ หลุมบ่อบนคันดิน คันดินบางช่วงถูก
กัดเซาะมีโอกาสที่คันดินกั้นฝายจะขาดรับน้ำไม่ไหว คนไปสร้างที่พักอาศัย
แบบถาวรบนคันดินกั้นฝาย ทำให้คนเดินผ่านเส้นทางนี้ไม่ได้ ปัญหาที่พบ
ทั้งหมดจะต้องหาวิธีแก้ไขโดยประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ประโยชน์จาก
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า