Page 128 - kpiebook67021
P. 128
เรื่องเด่นอยากเล่า 7
People’s Audit Outcome & Impact
รายละเอียดการประชุมกิจกรรม เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้ร่วมประชุมที่บ้านของ นางบังอร พลเยี่ยม
สมาชิกสภา อบต.สว่าง บ้านใหม่สถานี หมู่ 11 เพื่อรับฟังความคิดเห็น
ประชาชน เกี่ยวกับสภาพปัญหาฝายร่องนาคำ ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของ
หมู่ 11 ซึ่งก่อสร้างตั้งแต่ปี 2518-2519 ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย
(1) สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสว่าง หมู่ 11 (2) ผู้ใหญ่บ้าน,
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านกรรมการหมู่บ้าน (3) อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน
(4) เครือข่าย ทสม.หมู่บ้าน (5) ประธานชมรมอาสาปลูกป่าในใจคนตาม
ศาสตร์พระราชาจังหวัดร้อยเอ็ด (6) ประชาชนผู้ใหญ่น้ำ ในฝายร่องนาคำ
ผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมรับฟังปัญหาจากประชาชน การประชุม
ปรึกษาหารือในครั้งนี้ ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาก่อสร้างฝาย
มานานประมาณ 46 ปี มีปัญหาเกิดขึ้นกับคันดินกั้นฝายร่องนาคำ
หลายเรื่อง คือ 1. คันดินกั้นฝายร่องนาคำตลอดแนว มีสภาพรกทึบด้วย
ต้นไม้ และวัชพืช ไม่มีการปรับปรุงพัฒนาตั้งแต่ก่อสร้างถึงปัจจุบัน
2. ประชาชนไม่สามารถเดินทางสัญจรผ่านไปยังที่นาของตนเองได้
ทำให้เสียเวลาในการเดินทางไปประกอบอาชีพ 3. คันดินกั้นฝายถูกน้ำกัด
เซาะพังทลาย เป็นหลุมเป็นบ่อตลอดแนวคันดินกั้นฝาย 4. มีประชาชน
ทำที่อยู่อาศัยบนคันดินกั้นฝายกีดขวางการเดินทาง
เมื่อที่ประชุมได้รับทราบปัญหาโดยละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จึงมีข้อสรุป
ร่วมกันว่า จะต้องมีการลงไปสำรวจตรวจสอบพื้นที่ฝายร่องนาคำอย่าง
ละเอียด/การถอดบทเรียน : ฝายร่องนาคำก่อสร้างโดยงบประมาณที่
จัดสรรเพื่อพัฒนาชนบท สมัยของรัฐบาล หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ปี พ.ศ. 2518-2519 วัตถุประสงค์เพื่อกักเก็บไว้ใช้ในการเกษรตร เช่น
ทำนา ทำสวน กลุ่มเป้าหมายที่รับประโยชน์คือ เกษตรกรที่มีอาชีพทำนา
ประมาณ 150 คน พื้นที่ทำนาประมาณ 1,000 ไร่ เมื่อสร้างเสร็จก่อให้เกิด
126 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า