Page 129 - kpiebook67021
P. 129
เรื่องเด่นอยากเล่า 7
People’s Audit Outcome & Impact
ประโยชน์หลายด้าน เช่น ทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ แต่ที่มี
ปัญหาคือ ไม่เคยมีการปรับปรุงพัฒนาฝายร่องนาคำ ปล่อยให้คันดินกั้น
ฝายถูกน้ำกัดเซาะพังทลาย ทำให้น้ำล้นฝายไปท่วมการเกษตรใต้ฝาย
คันดินบางช่วงเปราะบางเสี่ยงต่อการกักเก็บน้ำไม่ได้ ถ้าคันดินกั้นฝายขาด
จะทำให้น้ำท่วมพื้นที่การเกษตรที่อยู่ใต้ฝายร่องนาคำ ก่อให้เกิดความ
เสียหายจำนวนมาก จึงอยากหาทางป้องกันปัญหาไว้ก่อน ที่ผ่านมา
ประชาชนเคยร่วมกันเสนอ อบต.มาหลายสมัยแต่ไม่มีงบปรับปรุงรักษา
คันดิน
วันนี้ จึงพร้อมใจกันนำเสนอต่อประธานชมรมอาสาปลูกป่าในใจคน
ตามศาสตร์พระราชาจังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อหาทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ใช้น้ำ
จากฝายร่องนาคำ
ข้อ 2. การสำรวจฝ่ายร่องนาคำ การลงพื้นที่เดินสำรวจฝายร่องนาคำ
ก็ได้นำความรู้จากหลักสูตร People’s Audit มาประยุกต์ใช้หลายวิชา เช่น
เทคนิคการเข้าถึงประชาชนเชิงบวก กติกาการทำงานแบบมีส่วนร่วม
ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัวคือ กิจกรรมที่กำลังร่วมมือกันปฏิบัติอยู่
- รายละเอียดกิจกรรมการสำรวจฝายร่องนาคำ เมื่อวันเสาร์ที่
8 มกราคม และวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ผู้รับผิดชอบโครงการได้ลง
พื้นที่ร่วมกับผู้นำ เดินสำรวจสภาพฝายร่องนาคำ จำนวน 2 ครั้ง ฝายนี้
อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของบ้านใหม่สถานี หมู่ 11 โดยผู้มีส่วนร่วมใน
การเดินทางสำรวจพื้นที่ฝายร่องนาคำ จำนวน 8 คน ประกอบด้วย
(1) นายอวยชัย พระสว่าง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสว่าง
(2) นายบุญโรม แสงนิล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสว่าง
(3) นายธงชัย พรมลี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสว่าง
(4) นายบุญมี บูราณรูป ผู้ใหญ่บ้านใหม่สถานี หมู่ 11 (5) นางบังอร
พลเยี่ยม สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสว่าง หมู่ 11 บ้านใหม่
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
127