Page 43 - kpiebook67015
P. 43
6
ต่อเนื่อง มีการประชาสัมพันธ่อยู่ตลอด โดยเฉพาะการรณรงค์ให้ประชาชนแยกขยะครัวเรือน
ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการคัดแยกขยะเบื้องต้น และเทศบาลดําเนินงานด้านการจัดเก็บขยะ
อย่างจริงจัง มีการดูแลรถเก็บขยะอย่างสม่ำเสมอ และมีการจัดทํางบประมาณเพื่อซื้อ
รถจัดเก็บขยะให้เพียงพอไร้ข้อร้องเรียนขยะตกค้าง
การดำเนินการตามแนวทาง 4R+1D ทำให้เทศบาลสามารถคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ
ไปบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการทำให้ขยะบางประเภทลดลง ทั้งนี้
เป็นการโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการดําเนินงานชุมชนไร้ถังในระดับของความรู้สึกเป็นเจ้าของ
ร่วมตัดสินใจ และเป็นผู้ร่วมรับผลประโยชน์สูงสุด ดังนี้
1. คัดแยกวัสดุอินทรีย์ นํากลับไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนเกือบ 100% จากการ
รณรงค์ฝังถังขยะเปียกลดโลกร้อน
2. คัดแยกวัสดุรีไซเคิล ฝากขายกับกองทุนขยะชุมชน และขายเองโดยตรงให้กับ
เอกชน เห็นได้จากการรับซื้อวัสดุรีไซเคิลในพื้นที่มีจํานวนเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นอาชีพ
หลักของคนในชุมชน 19, 22 และ 23
3. ขยะเป็นพิษ และวัสดุพลังงาน ชุมชนรวบรวมส่งให้เทศบาลทุกวันที่ 15-16-17
ของทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ
4. ขยะติดเชื้อ ชุมชนคัดแยกและนํามาทิ้งที่ศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อส่งกําจัด
ณ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช
5. กองทุนขยะชุมชน บริหารจัดการโดยชุมชนตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบัน มีสมาชิก
868 ราย รับฝากขยะสะสมทั้งสิ้น 4,333.39 ตัน คิดเป็นเงิน 3,336,029 บาท
และสมาชิกได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์สะสมทั้งสิ้น 163 รายการ
โครงการดังกล่าวสร้างความยั่งยืนในอนาคต ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้และรูปแบบ
การบริหารจัดการที่เหมาะสม ทันสมัย ตามบริบทและ วิถีชีวิตของคนในชุมชนอยู่เสมอ
จากความท้าทายของภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น เราจึงเน้นส่งเสริมความเข้มแข็งของพลังประชาชน
ที่มีอยู่ ด้วยการให้ความรู้เชิงรุก แจ้งข่าวสารอย่างทันใจเพิ่มสมาชิกกองทุนขยะชุมชน
สร้างพลัง soft power เพลงรณรงค์คัดแยกขยะ การเพิ่มช่องทางรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์
ที่หลากหลายพร้อมบริการ 24 ชั่วโมง และสนับสนุนทรัพยากรในการบริหารจัดการขยะ
ของภาคครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ประชาชนสามารถพัฒนาพื้นที่ของตนเองได้อย่าง
เต็มที่ตามศักยภาพ
รางวัลพระปกเกล้า’ 66