Page 48 - kpiebook67015
P. 48
1
เป็นต้นมา จึงเปรียบลำห้วยผาคำ
เป็นลำห้วยที่ตายแล้วใช้ประโยชน์
ไม่ได้ ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญให้
เทศบาลฯ นำคณะทุกภาคส่วน
มาร่วมกันแก้ปัญหา และจัด
ประชุมประชาคมร่วมกับประชาชน
ในพื้นที่
เทศบาลฯ ได้เริ่มจัดทำ
ประชาคมหมู่บ้าน(มณีวรรณ)
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565
โดยที่ประชุมประชาคมได้นำเสนอ
ให้มีการแก้ไขปัญหาน้ำไหลหลาก
ของลำห้วยผาคำที่ไหลผ่านหมู่บ้าน (มณีวรรณ) หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 11 โดยเสนอแนวทางแก้ไข
ปัญหา 13 แนวทางในเบื้องต้น และเสนอความคิดว่าจะต้องมีการขุดลอกอ่างผาคำซึ่งเป็น
อ่างที่สร้างมาขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2524 แต่ไม่มีการขุดลอกเลยทำให้ตื้นเขิน กักเก็บน้ำได้น้อย
จึงทำให้น้ำล้นสปิลเวย์เร็วจากที่ฝนตกทุกครั้ง และให้มีการเบี่ยงเบนน้ำไม่ให้ผ่านหมู่บ้าน
เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ทั้งที่ระยะทางระหว่างหมู่บ้านกับอ่างเก็บน้ำห้วยผาคำห่างไกล
5-6 กิโลเมตร เพื่อให้ไหลลงสู่ลำเหมืองย่อยและส่วนหนึ่งให้ไหลลงสู่คลองชลประทาน
นอกจากนี้ที่ประชุมได้เสนอให้มีการกักเก็บน้ำในลำห้วยไว้เป็นตอน ๆ ไว้ใช้ และรื้อ
สิ่งกีดขวางในลำห้วยเพื่อให้น้ำไหลคล่องขึ้น ตลอดจนซ่อมแซมฝายทุกตัวให้ใช้ได้ดีและ
กักเก็บน้ำเป็นระยะ ๆ โดยใช้ฝายซีเมนต์หรือฝายซอยซีเมนต์
จากการจัดทำประชาคมดังกล่าวจึงนำไปสู่การปฏิบัติบรูณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ขึ้น ได้แก่ (1)ชลประทานแพร่ได้เสนอเข้าแผนการขุดลอกอ่างห้วยผาคำและซ่อมสปิลเวย์
และ (2) กรมการปกครองโดยอำเภอเมืองแพร่ได้เสนอเข้าแผนและของบประมาณ
ในการซ่อมแซมฝ้าย มข.27 ในลำห้วยผาคำ และการรื้อขุดลอกได้มอบหมายให้ (3)องค์การ
บริหารส่วนจังหวัดแพร่ใช้เครื่องจักรกลในการขุดลอกตลอดทั้งชลประทานแพร่ และนัดหมาย
(4) ประชาชนในการรื้อลอกสิ่งกีดขวางทางน้ำ รวมถึงเครือข่ายต่าง ๆ เช่น หน่วยงานต่าง ๆ
ในพื้นที่ ฝ่ายปกครอง ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ บ้าน วัด โรงเรียน ช่วยกันสร้างฝายชะลอน้ำ
เพื่อชะลอการไหลของน้ำจำนวน 25 ตัว ที่จะไหลลงสู่อ่างผาคำ
รางวัลพระปกเกล้า’ 66