Page 42 - kpiebook67015
P. 42

5


             โครงการชุมชนไร้ถัง

                   เทศบาลเมืองเขาสามยอดมุ่งมั่นที่จะเป็นเมืองน่าอยู่ ปลอดขยะ โดยการมีส่วนร่วมของ
                                             1
             ทุกภาคส่วน ภายใต้กิจกรรม 4R+1D  โดยในอดีตก่อนปี 2548 เขาสามยอดบริหารจัดการ
             ขยะตามแนวคิดการรวบรวมขยะให้อยู่ร่วมกันเป็นที่ ก่อนนําไปกําจัดทั้งฝัง หรือเผา ให้บริการ
             ในรูปแบบของการจัดหาถังขยะ และมอบให้ชุมชนหาที่ตั้งถัง เทศบาลจึงเกิดปัญหาด้าน
             การจัดการ ทั้งค่าใช้จ่ายบริหารจัดการขยะภายในสํานักงานที่สูงขึ้น จากค่าจ้างคนงาน
             ค่าซ่อมรถขยะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าเช่าที่ทิ้งขยะ โดยเฉพาะค่าจัดซื้อถังขยะที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ

             ปีละกว่าสี่แสนบาท และยังมีปัญหาการไม่มีสถานที่ทิ้งขยะ รวมถึงชุมชนเกี่ยงกัน ไม่อยากมี
             ถังขยะหน้าบ้าน และขยะในถังที่ส่งกลิ่นเหม็นเน่า การแก้ไขปัญหาที่วนเวียนไม่ยั่งยืน
             เพราะไม่ได้เกิดจากความต้องการของชุมชนแท้จริง เทศบาลเขาสามยอดจึงสะท้อนปัญหา
             ของชุมชน เป็นแนวทางการร่างแผนยุทธศาสตร์ชุมชนในปี 2549 และกระตุ้นให้ประชาชน

             รู้ปัญหา จุดประกายความคิดการแก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วม ชุมชนเห็นด้วยและเริ่มปรับตัว
             คัดแยกขยะในครัวเรือน ทําสําเร็จโดยถังขยะส่วนกลางไม่จําเป็นอีกต่อไป ก็ส่งคืนให้เทศบาล
             และประกาศตัวเป็นชุมชนไร้ถัง จนครบ 34 ชุมชน 100% ในปี 2557 และจัดตั้งกองทุนขยะ
             ชุมชนเพื่อส่งเสริมการคัดแยกวัสดุที่มีมูลค่าออกจากขยะ ในปี 2559 ในขณะที่ชุมชนไร้ถัง

             สําเร็จได้ด้วยความต้องการของประชาชน การมีความรู้การคัดแยกขยะที่ต้นทาง (ภาคครัวเรือน)
             พร้อมการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ผลคือพบว่าปริมาณขยะรวมกําลังค่อย ๆ ลดลง
             อย่างต่อเนื่อง จาก 28.60 ตัน/วัน หรือ 0.98 กิโลกรัม/คน/วัน เหลือเพียง 15.11 ตัน/วัน
             หรือ 0.5 ก.ก/คน/วัน


                   จนกระทั่งในช่วงภาวะวิกฤติโรคระบาดโควิด 19 (ปี พ.ศ. 2562) ที่พลิกผัน
             สถานการณ์จากหน้ามือเป็นหลังมือ การฟื้นคืนชีพของพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ร้านกาแฟ
             ประกาศงดรับภาชนะใช้ซ้ำ ร้านอาหารถูกบังคับให้บริการแบบซื้อกลับบ้าน ประชาชนต้องอยู่
             แต่ในบ้าน การบริการสินค้าแบบเดลิเวอรี่ได้รับความนิยม เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีปริมาณขยะเพิ่ม

             ขึ้นถึง 59.59 ตัน/วัน หรือ 2.06 ก.ก./คน/วัน ใน พ.ศ. 2565 โดยเทศบาลได้ลงพื้นที่
             พัฒนาองค์ความรู้ ด้านขยะและสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชนทั้ง 34 ชุมชน ผ่านโครงการบริหาร
             จัดการขยะและสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักการ 4R 1D ส่งเสริมกิจกรรมกองทุนขยะชุมชน




                  1   4R+1D คือ 4D - Reduce ลดการใช้ Reuse การใช้ซ้ำ Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่
                   Recover การเปลี่ยนเป็นพลังงาน และ 1D – Disposal คือ การกำจัดขยะใช้ไม่ได้ ขยะเป็นพิษ
                   และขยะติดเชื้อ


                                                                             รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47