Page 38 - kpiebook67015
P. 38
1
ในส่วนของการสร้างการมีส่วนร่วม เทศบาลได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ตั้งแต่กระบวนการตัดสินใจ กระบวนการดำเนินงาน และร่วมเป็นเจ้าของ ในกระบวนการร่วม
ตัดสินใจในขั้นตอนรับฟังข้อมูล โดยได้มีการจัดทำประชาคมในทุกเดือน เพื่อรับทราบข้อมูล
ที่เป็นปัจจุบัน จึงเป็นการทำประชาคมชุมชน จำนวน 34 ครั้ง และประชุมภาพรวมทุกเดือน
รวม 12 ครั้ง
ในกระบวนการทำงาน ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนร่วม
ดำเนินการตามแผนติดตามและประเมินผลปรับปรุงงานให้ดีขึ้นตามวงจรหลัก PDCA และที่มี
ความโดดเด่นที่ทางเทศบาลและพี่น้องประชาชนภาคภูมิใจในการดำเนินงาน ได้แก่
การติดตามประเมินผลด้วยระบบ CAR Score (Community Assisment Report)
ซึ่งเป็นการประเมินผลระดับโครงการในหลายมิติ และ HGGO (Holistic Good Governance
Oganization ซึ่งประเมินคะแนนธรรมาภิบาลระดับโครงการในหลักธรรมาภิบาลทั้ง 10 หลัก
จากการดำเนินการที่ผ่านมา เทศบาลเมืองเขาสามยอดได้ดำเนินการพัฒนา
อย่างต่อเนื่อง โดยใช้เกณฑ์รางวัล PMQA ซึ่งเป็นเกณฑ์พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ
ภาครัฐมาประยุกต์ ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดระบบการทำงาน จึงมั่นใจว่าการดำเนินงาน
สร้างความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของเทศบาลจะมีความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
สำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและ
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนของเทศบาลเมืองเขาสามยอด ได้แก่
โครงการประกวดชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน
ตามวิสัยทัศน์ของเทศบาลเมืองเขาสามยอดในอีก 4 ปีข้างหน้า ประชาชนจะมีคุณภาพ
ชีวิตที่ดีทุกด้าน ด้านการบริการ การศึกษาพื้นฐานเป็นเลิศ มุ่งเน้นให้ชุมชนเข้มแข็ง ควบคู่
ไปกับการสร้างสภาวะแวดล้อมให้ชุมชนอยู่ดีมีความสุข เป็นชุมชนน่าอยู่ มีการบริหารจัดการ
อย่างมีส่วนร่วมกับประชาชน ให้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของคน
ในชุมชนให้เข้มแข็ง ยกระดับคุณภาพและวิถีชีวิตที่ดีมีความสุข ภายใต้ 5 องค์ประกอบ
ประกอบด้วย (1) ชุมชนดี (2) คนมีสุข (3) สิ่งแวดล้อมยั่งยืน (4) ชุมชนแห่งการเรียนรู้
และพัฒนา (5) การบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วม จึงเป็นที่มาของการจัดโครงการ
ประกวดชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน อันเป็นนวัตกรรมส่งเสริมการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องและ
ยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนตระหนักต่อการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่คุณภาพชีวิตที่ดี
รางวัลพระปกเกล้า’ 66