Page 40 - kpiebook67015
P. 40
การดำเนินได้บูรณาการจากประชาชนและหน่วยงานภาคีเครือข่ายปรึกษาหารือกัน
วางแผนชุมชน จัดงานประชุมในชุมชน ประชาคมเทศบาล หาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
วิเคราะห์ข้อมูล และร่วมสังเคราะห์ หารือหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อเป็นแนวทางพัฒนา
หลังจากนั้นได้ประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางการสื่อสารให้ทราบอย่างโปร่งใสและเสมอภาค
ไม่เลือกปฏิบัติ แต่งตั้งคณะทำงานจากภาคีเครือข่ายมอบอำนาจให้ประเมินตามหลักเกณฑ์
ที่กำหนด ระดับคะแนน 4 ระดับ ได้แก่ ระดับทอง ระดับเงิน ระดับทองแดง ระดับชมเชย
พิจารณาคะแนนตามบริบทของแต่ละชุมชนแข่งขันกับตัวเอง มีการลงพื้นที่ตรวจประเมิน
หลักฐานเชิงประจักษ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
ผลการดำเนินงาน มีชุมชนสมัครเข้าร่วมโครงการประกวดชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน
11 ชุมชน จำนวน 5,089 ครัวเรือน (ร้อยละ 32.35) ผลการประเมินมีชุมชนที่ผ่าน
การประเมินในระดับเหรียญทอง 3 ชุมชน เหรียญเงิน 3 ชุมชน ระดับเหรียญทองแดง
2 ชุมชน และระดับชมเชย 3 ชุมชน โดยมีเครือข่ายคณะกรรมการชุมชนทั้ง 34 ชุมชน
170 คน มีชุมชนต้นแบบการพัฒนา จำนวน 11 ชุมชน การประกวดชุมชนน่าอยู่ทำให้
ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการขยะลดลง 1 ,977,995 บาทต่อปี (โดยลดลงจากปี 2564
จำนวน 59,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.85 ต่อปี) นอกจากนี้โครงการประกวดยังทำให้เกิด
กระบวนการมีส่วนร่วมจัดการปัญหาโดยชุมชน ด้วยความสามัคคี ตระหนักรู้ปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดสำนึกรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ เกิดการดึง
ศักยภาพต่าง ๆ ในชุมชนให้เป็นที่ประจักษ์ เช่น มีแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา รวมกลุ่มเครือข่าย
ภาคประชาชน กลุ่มผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ 4 รุ่น 200 คน กลุ่มอาชีพตลาดออนไลน์
มีรายได้เพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 5-10 ต่อเดือน สภาเด็กและเยาวชนกลุ่มคนพิการ กลุ่มสตรี
ศพค. อสม. และอื่น ๆ เป็นเครือข่ายครอบคลุม ทั้ง 34 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 100
รางวัลพระปกเกล้า’ 66