Page 302 - kpiebook67015
P. 302

5


             ขณะที่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงหรือคนพิการได้รับการปรับสภาวะแวดล้อมสำหรับการดำเนิน
             ชีวิตให้มีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ติดเตียง) ได้รับการดูแลและ

             ฟื้นฟูให้กลับมาดีขึ้น กลับมาอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคมได้ ส่งผลให้การใช้ชีวิตในสังคม
             มีความสุขมากขึ้น และเข้าถึงสิทธิ สวัสดิการต่าง ๆ และการบริการด้านสุขภาพตามที่ควรจะ
             ได้รับ สังคมเกิดการเสริมสร้างความเป็นธรรมและการลดความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ
             กล่าวคือ มิติการเมือง มีการบริหารทรัพยากรเพื่อความเป็นธรรม มิติด้านสังคม มีการสร้าง

             ความตระหนักและจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมให้แก่ภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและอาสาสมัคร

                   ภายใต้โครงการนี้เทศบาลตำบลปริกได้จัดทำฐานข้อมูลด้านสุขภาพสำหรับนำไปใช้เป็น
             ข้อมูลประกอบการจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
             และมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมด้าน

             การสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนและการบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ที่มุ่งเน้น
             ยุทธศาสตร์การสร้างนำซ่อม โดยใช้กระบวนการด้านการจัดการความรู้ (Knowledge
             Management) เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนที่สำคัญเกิดแหล่งเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพ
             คนในชุมชน จำนวน 7 แหล่ง ได้แก่ (1) กลุ่มอาสาดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (2) กลุ่มอาสาดูแล

             ผู้ป่วยจิตเวช (3) กลุ่มแม่อาสา (4) กลุ่ม Care Manager และ Care Giver (5) กลุ่มอาสา
             กู้ชีพ (EMS) (6) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ (7) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต
             ผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลตำบลปริก เพื่อส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะที่ดีในผู้สูงอายุตามวิถี
             “สุขเพียงพอ ชะลอชรา ชีวายืนยาว” ได้อย่างยั่งยืน


             โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืน

                   เทศบาลตำบลปริกมีครัวเรือนใช้น้ำประปาสำหรับการอุปโภคบริโภค จำนวน 1,481
             ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 75.29 ของครัวเรือนทั้งหมด ส่วนที่เหลือใช้น้ำประปาของ
             การประปาส่วนภูมิภาคและบ่อน้ำตื้น ปัญหาด้านการบริหารจัดการน้ำที่สำคัญในพื้นที่
             ตำบลปริก คือในฤดูแล้งชาวบ้านมักขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร

             ทำให้พืชผลทางการเกษตรมีคุณภาพต่ำ ขณะที่ในช่วงฤดูฝนซึ่งมีปริมาณน้ำฝนจำนวนมาก
             ทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีเช่นนี้เทศบาล
             ตำบลปริกจึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืน ด้วยวิธีการปรับปรุง
             คลองปริกที่ตื้นเขินให้สามารถระบายน้ำได้ทันในฤดูฝน ลดความรุนแรงจากปัญหาอุทกภัย

             ที่เกิดขึ้น และในฤดูแล้งสามารถใช้เก็บกักน้ำได้






                                                                             รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   297   298   299   300   301   302   303   304   305   306   307