Page 297 - kpiebook67015
P. 297

0


                 เนื่องจากเด็กปฐมวัยในเทศบาลตำบลปริกส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีฐานะทางครอบครัว
           ยากจน ไม่มีโอกาสเข้าถึงการเล่นสนามเด็กเล่นที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในราคาแพง ไม่มีโอกาส

           ได้เล่นเครื่องเล่นสนามที่สวยงามดึงดูดใจที่เอกชนมีไว้ให้บริการ หรือในห้างสรรพสินค้าที่ต้อง
           เสียค่าใช้จ่ายเพื่อไปใช้บริการ หรือตามโรงเรียนที่มีความพร้อมด้านงบประมาณ เทศบาล
           จึงมีนโยบายในการจัดการศึกษา ส่งเสริมกระบวนการและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
           พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)

           โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาคนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ซึ่งได้จัดการศึกษาในระดับปฐมวัย
           ตั้งแต่ระดับอายุ 2 ปีบริบูรณ์ จนถึงระดับอนุบาล 3 ให้มีความพร้อมทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย
           ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เพื่อให้เด็กมีความพร้อมที่จะก้าวสู่
           การศึกษาในระดับประถมศึกษาต่อไป ในปี พ.ศ. 2561 เทศบาลตำบลปริกได้รับ

           การสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในการดำเนินการก่อสร้าง
           สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งกรมส่งเสริม
           การปกครองท้องถิ่นได้สนับสนุนเฉพาะในส่วนของอุปกรณ์เท่านั้น ในส่วนของค่าแรง
           ในการก่อสร้างเทศบาลได้อาศัยความร่วมมือร่วมใจจากภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ พนักงาน

           เจ้าหน้าที่ของเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล ผู้ปกครอง และชุมชน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
           ในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ เกิดเป็นสนามเด็กเล่นสร้างปัญญานำร่องแห่งแรกของประเทศ
           ไทย ทำให้เทศบาลได้ขับเคลื่อนพัฒนาการของเด็กปฐมวัยอย่างจริงจังให้เด็กได้เรียนรู้ผ่าน
           การเล่น ซึ่งอาศัยแบบอย่าง “การเล่นตามรอยพ่อ” ที่สมเด็จย่าได้เลี้ยงดูพระบาทสมเด็จ

           พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 โดยออกแบบเป็น 5 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่
           (1) ฐานสระอินจันท์ (2) ฐานสระทารก (3) ฐานสไปเดอร์แมน (4) ฐานเรือสลัดลิง
           (5) ฐานสระว่ายน้ำ ซึ่งแต่ละฐานจะมีบทบาทที่แตกต่างกันในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
           ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นเครื่องมือในการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว เทศบาล

           ยังเปิดสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาให้เป็นสถานที่สำหรับคนทุกวัย เพื่อรองรับการจัดกิจกรรม
           ร่วมกัน การพักผ่อนหย่อนใจ การออกกำลัง เป็นพื้นที่รองรับคนทุกวัยให้ได้ใช้สถานที่ร่วมกัน
           โดยไม่แบ่งแยกวัย ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างวัย ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยประชาชน
           ผู้เข้าใช้พื้นที่สามารถเข้าถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา

           ที่ยั่งยืนในเรื่องการศึกษา และการลดความเหลื่อมล้ำ

                 โครงการสนามเด็กเล่นสร้างปัญญามีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
           ลดช่องว่างระหว่างวัยและสร้างความเสมอภาคในสังคม โดยให้เด็กปฐมวัยทุกคนสามารถ
           เข้าถึงการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง เสมอภาค และลดภาระ




        รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302