Page 301 - kpiebook67015
P. 301

จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมอาชีพ การถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ
           คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส


                 การจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีในผู้สูงอายุเทศบาลตำบลปริกในปีงบประมาณ
           2565 จึงถือเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ศูนย์ได้ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยเริ่ม
           ดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 โดยนำแนวทางของแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา
           ชีวายืนยาว (Wellness Plan) มาปรับใช้ และนำร่องในกลุ่มแกนนำผู้สูงอายุเพื่อให้เกิด

           ผู้สูงอายุตัวอย่างที่นำไปสู่การขยายผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี
           และลดภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคต่าง ๆ เพื่อสุขภาวะที่ดีอย่าง “สุขเพียงพอ ชะลอชรา
           ชีวายืนยาว” อย่างยั่งยืน

                 เทศบาลตำบลปริกได้จัดให้มีการประชุมประชาคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาล ซึ่งผู้เข้าร่วม

           ประกอบด้วย คณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาล
           ตำบลปริก ผู้แทนผู้สูงอายุจากทุกชุมชน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่จากกองสวัสดิการสังคม
           และกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปริก ผลจากการจัดประชาคมทำให้เกิด

           ฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่ต้องการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่เป็น
           แบบอย่างที่ดีแก่ชุมชน และข้อมูลความต้องการของผู้สูงอายุด้านสังคมและนันทนาการในด้าน
           สุขภาพจิตและสุขภาพกาย ทั้งนี้การดำเนินงานยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน
           หลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก เพื่อจัดกิจกรรมให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
           และคนพิการ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต สังคม และได้รับการเสริมพลังจาก

           คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการมัสยิด อิหม่าม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
           (อสม.) ผู้ช่วยเหลือ และผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) เป็นต้น

                 โครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีในผู้สูงอายุเทศบาลตำบลปริกในปีงบประมาณ 2565
           ทำให้มีรูปแบบการส่งเสริมและการพัฒนาผู้สูงอายุ ยกระดับงานด้านการจัดการสุขภาวะ

           ชุมชนแบบองค์รวมทั้งทางกาย จิต อารมณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประชาชนเกิด
           ความตระหนักรู้และตื่นตัวต่อการจัดการสุขภาวะ ประกอบกับคนในชุมชนให้ความช่วยเหลือ
           ดูแลซึ่งกันและกัน แม้เป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรมแต่สามารถอยู่ร่วมกันแบบเครือญาติ

           มีการพึ่งพาอาศัย นอกจากนี้การพัฒนาศักยภาพของบุคคลและครอบครัว รวมทั้งอาสาสมัคร
           ในชุมชนผ่านการจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาวะที่ดีได้พัฒนาความรู้และทักษะให้แก่ผู้ดูแล
           ส่งผลให้ผู้สูงอายุและคนพิการได้รับการดูแลและการฟื้นฟูให้มีอาการกลับมาดีขึ้น ผู้ดูแล
           สามารถไปทำงาน หารายได้ และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรับการรักษาที่สถานพยาบาล




        รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   296   297   298   299   300   301   302   303   304   305   306