Page 299 - kpiebook67015
P. 299

จากการดำเนินโครงการสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาเครื่องมือพัฒนาเด็กปฐมวัย ทำให้
           เด็กปฐมวัยในเขตเทศบาลตำบลปริก จำนวน 440 คน คิดเป็นร้อยละ 81.36 ของจำนวน

           เด็กปฐมวัยทั้งหมดของเทศบาลตำบลปริก ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือ
           สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา และมีพัฒนาการสมวัยทั้ง 4 ด้าน โดยมีการประเมินทักษะ
           ทั้ง 4 ด้าน หลังจากที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ผ่านสนามเด็กเล่น คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ
           สังคม และสติปัญญา รวมถึงพฤติกรรมของเด็กที่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดี เด็กสามารถคิด

           แก้ปัญหาได้ รวมถึงครูปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลตำบลปริก จำนวน 10 คน คิดเป็น
           ร้อยละ 100 ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดกระบวนเรียนรู้
           ผ่านการเล่น โดยใช้เครื่องมือสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา ครูผู้สอนสามารถเก็บรวบรวมข้อมูล
           โดยการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่นของเด็กในสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา

           สามารถพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน และแก้ไขปัญหาของเด็กแต่ละคนได้ตรงจุด ส่งผลให้
           เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย

                 นอกจากนี้การสร้างสนามเด็กเล่นทำให้นักเรียนระดับปฐมวัยทั้งในเขตและนอกเขต
           เทศบาลตำบลปริก ได้ร่วมใช้สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการส่ง

           บุตรหลานเข้ามาเรียนในสถานศึกษาที่เน้นเรียนฟรี เรียนดี และเรียนอย่างมีคุณภาพ ซึ่งโครงการ
           สนามเด็กเล่นสร้างปัญญาเครื่องมือพัฒนาการศึกษาปฐมวัยเป็นพื้นที่สาธารณะ (Open
           Space) ให้ผู้ปกครองและประชาชนพลเมืองปริกได้มีโอกาสเข้าถึงและใช้สนามเด็กเล่น
           สร้างปัญญาร่วมกับบุตรหลาน ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย และพบปะ

           ทำกิจกรรมร่วมกัน อีกทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในการนำเด็กไปเล่นในสถานที่
           ต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกล ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเข้าเล่น

                 สำหรับสถานศึกษาได้มีการประเมินการใช้สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา โดยจัดทำ

           แบบสอบถามความพึงพอใจ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการยกระดับการจัดการศึกษาปฐมวัยของ
           เทศบาลตำบลปริกในแง่การพัฒนาต่อยอดจากปีที่ผ่านมา สนามเด็กเล่นสร้างปัญญาได้ก่อให้
           เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครอง และชุมชน
           ในการจัดทำและดูแลบำรุงรักษาสนามเด็กเล่น มีการพัฒนาต่อยอดโดยจัดทำฐานการเรียนรู้
           ทั้งหมด 5  ฐานการเรียนรู้ และผลจากการใช้ประโยชน์จากสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาได้เป็น

           ที่ประจักษ์ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ตลอดจนภาคีเครือข่ายอื่น จนทำให้สำนักงาน
           กองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. และมูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา
           ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่เทศบาลตำบลปริกมุ่งมั่นขับเคลื่อนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

           ประชาชน และเห็นว่าสมควรต่อยอดขยายผลสู่ชุมชนจึงได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อก่อสร้าง


        รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303   304