Page 306 - kpiebook67015
P. 306

โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืนได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สำคัญใน 3 ด้าน
             ดังนี้


                   = ด้านสังคม ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงระบบบริการน้ำประปาที่มีคุณภาพ
             ของเทศบาลตำบลปริก โดยเฉพาะประชาชนผู้ที่มีรายได้น้อย ผู้ที่มีภาวะยากลำบาก
             กลุ่มเปราะบาง และผู้ที่อยู่อาศัยห่างไกลจากบริเวณเส้นท่อหรือเขตบริการของการประปา
             ส่วนภูมิภาคส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น


                   = ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนได้ใช้น้ำประปาที่มีคุณภาพในราคาที่ต่ำกว่าการประปา
             ส่วนภูมิภาค ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และสามารถลดต้นทุนในการเกษตร

                   = ด้านสุขภาพ ประชาชนได้ใช้น้ำประปาที่มีคุณภาพผ่านการรับรองมาตฐาน

             น้ำบริโภคของกรมอนามัย ทำให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

                   การขาดการบริหารจัดการน้ำที่ดีอาจทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นในพื้นที่ได้ กล่าวคือ
             ประชาชนทุกกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการน้ำประปาที่มีคุณภาพ หากเกษตรกรที่อยู่
             นอกเขตชลประทานไม่ได้รับการจัดสรรน้ำทางการเกษตรในหน้าแล้ง ย่อมจะไม่สามารถ

             ทำการเกษตรได้ และเนื่องจากเทศบาลตำบลปริกมีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบลุ่ม
             มีคลองอู่ตะเภาไหลผ่าน ดังนั้นในช่วงฤดูฝนจะเกิดน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือน โดยเฉพาะ
             บ้านเรือนของผู้ที่มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถปรับถมพื้นที่ให้สูง

                   เทศบาลตำบลปริกจึงได้บริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นทาง

             กลางทาง และปลายทาง เพื่อให้พลเมืองในเขตเทศบาลตำบลปริกเข้าถึงการบริการสาธารณะ
             ด้านการใช้น้ำได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรมทั้งในช่วงภาวะปกติและช่วงวิกฤติน้ำแล้งและน้ำท่วม
























                                                                             รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310   311