Page 311 - kpiebook67015
P. 311

0


           ที่มีความล่าช้า ไม่ทั่วถึง สะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ด้านสุขภาพ และด้าน
           การเข้าถึงสิทธิสวัสดิการ จึงร่วมกับภาคีเครือข่าย มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิรามาธิบดี

           โรงพยาบาลละงู หน่วยงานในพื้นที่ และประชาชนในเขตเทศบาล ผ่านการประสานงาน
           จากเครือข่ายรักจังสตูล ร่วมกันจัดตั้งศูนย์กายอุปกรณ์ปันรักปันสุขเทศบาลตำบลกำแพง
           เพื่อรับการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ ข้าวสาร และอาหารแห้ง แต่ด้วย
           ข้อจำกัดอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ไม่เพียงพอสำหรับการให้บริการ จึงมีการจัดตั้ง

           คณะกรรมการบริหารศูนย์กายอุปกรณ์ปันรักปันสุขขึ้น โดยร่วมคิดร่วมทำกิจกรรมการรับ
           บริจาคขยะสร้างบุญในชุมชนเพื่อระดมทุนสำหรับจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์มาให้ผู้ป่วย
           ได้ยืมใช้เพื่อดูแลรักษาต่อเนื่องที่บ้าน โดยสร้างแกนนำจิตอาสาประจำซอย อาสาสมัคร
           นักบริบาลชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) สมาชิกสภาท้องถิ่น และแกนนำผู้สูงอายุ

           เพื่อติดตามการดำเนินงานให้ทราบสถานการณ์ปัญหาร่วมกัน จัดการแก้ไขปัญหาการเข้าถึง
           ผู้ป่วยในชุมชนได้อย่างรวดเร็วโดยใช้การสื่อสารผ่านระบบแอปพลิเคชัน Line : ศูนย์บริการ
           กายอุปกรณ์ปันรักปันสุขเทศบาลตำบลกำแพง เฟซบุ๊กเทศบาลตำบลกำแพง และ
           แอปพลิเคชัน Imed@home เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลและติดตามผู้ป่วยด้านสุขภาพทุกด้าน


                 ในการบริหารจัดการมีการนำแอปพลิเคชัน Imed@home มาใช้ ทำให้สามารถติดตาม
           และให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อัตราผู้ป่วยติดเตียงลดลงจากเดิม
           13 คนเหลือ 7 คน นอกจากนี้ยังมีการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยติดเตียงด้วยการฝึก
           กายภาพ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ซึ่งได้ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง  และการจัดอบรมเพื่อ

           ฝึกให้สมาชิกในครอบครัวมีความรู้การดูแลสุขภาพเบื้องต้น พร้อมเสริมพลังเพิ่มความสุข
           ให้กับครอบครัว เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนในเขตเทศบาลเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เทศบาล
           ตำบลกำแพงได้บรรจุโครงการไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อให้
           มีการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง อาทิ ทีมสหวิชาชีพลงเยี่ยมผู้ป่วย การมอบเครื่องอุปโภค

           บริโภค การมอบกายอุปกรณ์ทางการแพทย์ การรับบริจาคขยะรีไซเคิล การให้ความรู้
           ตามโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบสำหรับผู้สูงอายุในภาคใต้ (กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
           เตรียมรองรับสังคมสูงวัย และการอบรมระยะสั้น หลักสูตร “นักบริบาลผู้สูงอายุและผู้ป่วย
           ติดเตียง” ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง


                 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพด้วยการเพิ่มโอกาส
           การเข้าถึงระบบการรักษาและการจัดการสุขภาวะของคนในชุมชน เพื่อจัดหากายอุปกรณ์
           ทางการแพทย์สำหรับให้กลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วย ผู้ด้อยโอกาสยืมใช้ โดยมุ่งดำเนินการให้เกิด

           ความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยการพัฒนาศักยภาพจิตอาสาในการดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ


        รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   306   307   308   309   310   311   312   313   314   315   316