Page 160 - kpiebook67015
P. 160
15
เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เกิดความรับผิดชอบและตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม โรงเรียน
เทศบาลบ้านแมดจึงดำเนินโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco - School) เพื่อแก้ไขปัญหาและ
อนุรักษ์วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมของชุมชน ตามหลักสูตรโรงเรียนอีโคสคูล (Eco - School)
มีพันธกิจด้วยกัน 4 ข้อหลัก ได้แก่ 1. นโยบายการสร้างด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้าง
การบริหารการจัดการ 2. การจัดกระบวนการเรียนรู้ 3. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 4. การมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา เป็นการทำงานด้าน
การส่งเสริมกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียน เน้นการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ใน
ประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยการออกแบบกิจกรรมที่เน้นการลงมือทำ ก่อให้เกิดกระบวนการ
เรียนรู้รูปแบบใหม่สำหรับนักเรียนที่จะช่วยในการเสริมสร้างพลังแก่คนรุ่นใหม่ให้ขับเคลื่อน
โดยเริ่มต้นจากห้องเรียนไปยังระดับโรงเรียนขยายผลไปถึงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
อย่างยั่งยืน ทำให้เกิดภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมขับเคลื่อนรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1. โรงเรียนเทศบาลบ้านแมด เป็นผู้รับผิดชอบหลักการจัดทำหลักสูตรและดำเนิน
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สนับสนุนการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา
ในสถานศึกษาทุกระดับ สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อเป้าหมายสูงสุด
“การพัฒนานักเรียนให้เติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง บนพื้นฐานเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” งบประมาณ การประสานงานเครือข่ายการติดตามและ
ประเมินผล การรายงานผลการดำเนินงานเป็นสถานที่แหล่งเรียนรู้ ฝึกประสบการณ์ให้กับ
โรงเรียนและหน่วยงานอื่น
2. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สนับสนุนคณะอาจารย์ ให้ความรู้
การจัดกิจกรรมห้องสมุดสารสนเทศทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม และเป็นที่ปรึกษา
ศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชา และสถานที่ใช้ในเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติจริงการทำ
ถ่านไม้ไผ่
3. โรงเรียนบ้านกำพี้เหล่ากาเจริญศิลป์ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม แลกเปลี่ยน
เรียนรู้การจัดการศึกษา ขยายผลการจัดการศึกษา ร่วมโครงการ/กิจกรรม เป็นสถานที่เรียนรู้
โดยการฝึกปฏิบัติร่วมกัน
4. โรงเรียนบ้านโนนสัง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้
การจัดการศึกษา ขยายผลการจัดการศึกษา ร่วมโครงการ/กิจกรรม เป็นสถานที่เรียนรู้
โดยการฝึกปฏิบัติร่วมกัน
รางวัลพระปกเกล้า’ 66