Page 157 - kpiebook67015
P. 157
150
4. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม สถาบันการศึกษาในพื้นที่ เข้ามา
มีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยให้ความรู้ทางวิชาการ ร่วมเป็นคณะกรรมการออกแบบ
หลักเกณฑ์การประเมินและตัวชี้วัดในการประกวดชุมชน ให้ข้อเสนอแนะการดำเนินโครงการ
และร่วมกิจกรรมในการพัฒนา
5. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองมหาสารคาม มีหน้าที่ให้การสนับสนุนและ
ช่วยเหลือในการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนเข้ามามี
ส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาในพื้นที่ด้านการพัฒนากลุ่มอาชีพ/การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน
ให้ข้อเสนอแนะหลักเกณฑ์การประกวดชุมชน
6. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เข้ามามีส่วนร่วมให้
การสนับสนุนองค์ความรู้ การดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ด้านสุขภาวะของคนในชุมชน
7. เครือข่ายตลาดนัดสีเขียว มีบทบาทส่งเสริมให้ประชาชนนำผลิตภัณฑ์มาจำหน่าย
และขยายผลให้มีให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการจัดตลาดนัดสีเขียวมากขึ้น
8. กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนแม่ มีบทบาทในการสนับสนุน ร่วมกิจกรรมใน
การพัฒนาส่งเสริมการออมและเป็นแหล่งเงินทุนให้ประชาชนกู้ยืมเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน
9. คณะกรรมการชุมชนและประชาชน ร่วมดำเนินโครงการเป็นคณะทำงานขับเคลื่อน
นโยบายผ่านโครงการ/กิจกรรมของภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ให้เกิดการพัฒนา
ตามเกณฑ์การประกวด ทั้ง 4 ด้าน ให้ข้อเสนอแนะการพัฒนา การแก้ไขปัญหา และ
ความต้องการผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล Line OA “รักษ์เมืองมหาสารคาม” และช่องทางอื่น ๆ
ผลจากการดำเนินงาน
ด้านสังคม ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนามากขึ้น เห็นได้จากทุกชุมชนในเขต
เทศบาล ทั้ง 31 ชุมชน เข้าการประกวด “ชุมชนน่าอยู่ สู่สังคมเป็นสุข” ชุมชนมีการจัดทำ
แผนชุมชนแม่บทครบ ทั้ง 31 ชุมชน และสนใจเข้าร่วมจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มขึ้นทุกปี
ดังจะเห็นได้จากการเก็บสถิติการเข้าร่วมจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งในปีงบประมาณ 2563
เป็นปีที่เริ่มต้น โครงการมีผู้เข้าร่วมประชาคม 6,718 คน ปีงบประมาณ 2564 เข้าร่วม
8,841 คน ปีงบประมาณ 2565 เข้าร่วม 11,216 คน มีสมาชิกในกลุ่ม Line OA “รักษ์เมือง
มหาสารคาม” 3,983 คน นอกจากนี้ยังมีการร่วมกันจัดกิจกรรมประเพณี ส่งเสริม
วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นให้เห็นได้จากมีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องของชุมชน
รางวัลพระปกเกล้า’ 66