Page 158 - kpiebook67015
P. 158
151
ด้านเศรษฐกิจ เกิดการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เกิดการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน
42 กลุ่ม และมีการรวมกลุ่มอาชีพผลิตสินค้าออกจำหน่าย 99 กลุ่ม มีการพัฒนาสินค้าให้ได้
มาตรฐาน พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เกิดการขายและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์หลากหลายช่องทาง
เช่น ขายเอง ตามตลาดนัดชุมชน กับเครือข่ายที่เข้ามาร่วมส่งเสริม จำหน่ายแบบออนไลน์
มีผลิตภัณฑ์สินค้าเด่นเป็นที่รู้จักแพร่หลายเกิดขึ้นในชุมชน เช่น ผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าชุมชน
โพธิ์ศรี ผลิตภัณฑ์หมี่กรอบชุมชนสามัคคี ผลิตภัณฑ์สมุนไพรประคบชุมชนธัญญาวาส
ผลิตภัณฑ์ปลาร้าบองชุมชนนาควิชัย ผักปลอดสารพิษชุมชนบ้านแมด เป็นต้น มีการปลูกพืช
สมุนไพรและนำมาประยุกต์ใช้จำนวน 136 ครัวเรือน มีแกนนำผลิตยาสมุนไพรโดยกลุ่ม
ผู้สูงอายุ 50 คน เกิดการรวมกลุ่มของชุมชนที่มีพื้นที่ติดกันจัดกิจกรรมตลาดนัดสีเขียว
หมุนเวียนกันไปตามชุมชนต่าง ๆ ในทุกเดือน เป็นการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน เช่น
นิสิตนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ มาจัดกิจกรรมดนตรี หรือนำสินค้าที่ผลิตเองมาจำหน่าย
ผู้สูงอายุมีกิจกรรมแสดงหรือถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้ด้านสมุนไพรกับผู้สนใจ
คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เห็นได้จากสถิติการเก็บข้อมูล จปฐ.ของกรมพัฒนาชุมชน
ซึ่งในปี 2564 มีรายได้ 130,917.95 ต่อคนต่อปี รายได้ 319,560.83 ต่อครัวเรือนต่อคนต่อปี
ใน 2565 มีรายได้ 153,358.76 ต่อคนต่อปี รายได้ 359,1130.49 ต่อครัวเรือนต่อปี
ด้านสิ่งแวดล้อม คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดี มีการรักษาความสะอาด
และจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน มีการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี มีการคัดแยกขยะนำขยะมาสร้าง
มูลค่า มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างสร้างสรรค์โดยทุกชุมชนมีสวนสมุนไพรที่ปลูกและนำมา
ใช้ร่วมกันครบถ้วน ทั้ง 31 ชุมชน มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มพื้นที่สีเขียว
ในชุมชน
รางวัลพระปกเกล้า’ 66