Page 281 - kpiebook66032
P. 281

“การประชาสัมพันธ์ในช่วงที่ผ่านมาผมคิดว่ายังไม่ทั่วถึง ที่นี่มี Story

                     ที่น่าสนใจ และเขาก็จัดได้ดี แต่การประชาสัมพันธ์ยังไม่ว้าว คนที่รู้จักจะเป็นคนที่
                     อยู่ในพื้นที่เองเท่านั้นที่รู้และบอกต่อ ๆ กันมา และคนเดินตลาดส่วนใหญ่ก็เป็น

                     คนในพื้นที่มาตลาดกันเอง คิดว่าควรประชาสัมพันธ์ ทำ Marketing ให้ดีกว่านี้
                     นอกจากนี้ ส่วนกลางควรมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมากขึ้นเพื่อให้เขาได้มี
                     อิสระ สามารถบริหารจัดการงบประมาณเพื่อนำมาทำโครงการฯ ได้ดียิ่งขึ้น”  286




                     อุปสรรคประการสุดท้าย คือ ผลกระทบจากน้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่ โดยพื้นที่ที่จัดงาน   ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)

               ตลาดนัดภูมิปัญญาและตลาดต้องชมท่าแพ-ท่าสาปที่ต่อยอดขึ้นมานี้ เป็นพื้นที่ริมแม่น้ำปัตตานี
               และเป็นที่ลุ่ม ฉะนั้น จะมีหนึ่งเดือนในช่วงฤดูฝนที่มักมีน้ำท่วมซ้ำซากบริเวณนั้นทำให้

               ไม่สามารถเปิดตลาดได้ ซึ่งในส่วนนี้ทางเทศบาลตำบลท่าสาปได้พยายามหาแนวทางแก้ไข
               โดยมีแนวคิดที่จะออกแบบทางกายภาพหรือปรับปรุงพื้นที่ให้สามารถเปิดตลาดในช่วงหน้าฝนได้
               แต่การปรับปรุงพื้นที่เพื่อลดความเสี่ยงอุทกภัยดังกล่าวจะต้องมีความเหมาะสมกับบริบทพื้นที่

               ด้วยเพื่อไม่ให้สูญเสียทัศนียภาพและอัตลักษณ์ของตัวตลาด ซึ่งทางเทศบาลท่าสาปคาดหวังว่า
               หากต่อไปมีการปรับปรุงสภาพพื้นที่แล้วจะเพิ่มความสะดวกสบายแก่คนที่มาท่องเที่ยวในช่วง

               หน้าฝนและทำให้คนในพื้นที่มีรายได้อย่างต่อเนื่อง

                     ความสำเร็จที่เกิดขึ้นของโครงการตลาดนัดภูมิปัญญาสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น เทศบาล

               ตำบลท่าสาปนั้นเกิดจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในประการแรก คือ
               นโยบายของเทศบาลฯ ที่มีความชัดเจนและสอดคล้องกัน โดยจะเห็นได้ว่าทั้งนโยบายหลัก
               แนวคิดที่ใช้ในการดำเนินนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาล

               ท่าสาปมีความชัดเจนและสอดคล้องกันหมดในแง่ของการให้ความสำคัญกับประเด็นการอนุรักษ์
               ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และรู้จักนำมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่ล้ำค่านี้       ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น

               มาต่อยอดทำสิ่งดี ๆ ที่สร้างสรรค์เพื่อสร้างความสมานฉันท์และส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่ไปใน
               คราวเดียวกัน โดยจะเห็นได้ว่า ภายใต้นโยบายด้านการพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพ ทางเทศบาลฯ
               ได้มีการระบุให้มีการดำเนินการจัดให้มีการอนุรักษ์ บำรุงรักษา ศิลปะ วัฒนธรรม

               ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและอัตลักษณ์ท้องถิ่น เช่น การจัดงาน
               อนุรักษ์วัฒนธรรมของตำบลท่าสาป งานประเพณีต่าง ๆ และส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ในเขต

               เทศบาลตำบลท่าสาป ขณะเดียวกันแนวคิดที่ใช้เป็นฐานในการดำเนินนโยบายของท่าสาปนั้น
               ก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการอนุรักษณ์และให้คุณค่าต่อมรดกทางศิลปวัฒนธรรมประเพณี


                  286   Personal communication, 28 เมษายน 2566.




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   2
   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285   286