Page 276 - kpiebook66032
P. 276
ทั้งเหตุการณ์ยิง ระเบิด ก่อกวน และภัยแทรกซ้อนในพื้นที่ตำบลท่าสาปตั้งแต่ พ.ศ. 2556-2561
นั้นมีแนวโน้มลดลง
ตารางที่ 4 สถิติการก่อเหตุร้ายในพื้นที่เทศบาลตำบลท่าสาป ก่อกวน ภัยแทรกซ้อน
ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD) 8 เมษายน 2551 - 7 เมษายน 2556 0 2 4 0
ระเบิด
วันที่
ยิง
22 เมษายน 2556 - 18 พฤษภาคม 2557
1
0
0
0
0
0
0
1 ตุลาคม 2558 - 30 กันยายน 2559
0
2
1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
0
0
1 ตุลาคม 2560 – 2561
0
0
ที่มา: เทศบาลตำบลท่าสาป, ข้อมูล ฉก.ยะลา 12, (ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2566). 1 0 0
ความหวาดระแวงระหว่างพี่น้องสองศาสนาที่ลดลงและความสันติสุขสมานฉันท์ที่เพิ่มขึ้น
อันเป็นผลจากการดำเนินโครงการตลาดนัดภูมิปัญญาสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น เทศบาลตำบล
ท่าสาป สะท้อนได้จากการบอกกล่าวของคนท่าสาป ที่ว่า
“บรรยากาศเก่า ๆ ความเป็นไทยพุทธมุสลิมหายไปหลังจากเกิดเหตุการณ์
ความไม่สงบใน พ.ศ. 2547 แถวบ้านก๊ะมีไทยพุทธ 4-5 หลัง จะหวาดระแวงซึ่งกัน
และกัน เดิมเป็นเพื่อนกัน เรียนหนังสือและเติบโตมาด้วยกัน มีสวนใกล้กัน
หลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ เขาก็ไม่กล้าเข้าไปในพื้นที่ แต่เมื่อมีตลาดนี้
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น ขายนมแพะ ขายกล้วย ขายผัก หลัง ๆ ก็เริ่มคุยมากขึ้น ใส่ปุ๋ยอะไรผักจึงงาม
ได้คุยกัน ความหวาดระแวงก็ลดลง ยิ้มพูดคุยทักทาย ได้ถามไถ่ว่าขายอะไร
ปลูกกล้วยต้องใส่ปุ๋ยอะไร เราบอกใส่ขี้แพะและให้ขี้แพะไปใส่ต้นไม้ กลายเป็น
สิ่งที่ดี ตลาดจึงเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจและเป็นแหล่งสานสัมพันธ์ของพวกเรา
ชาวท่าสาป”
281
“การทำตลาดนัดภูมิปัญญาฯ สามารถรวมคนทุกกลุ่มทุกวัยมาร่วมกัน
เกิดความสามัคคี ปรองดอง ลดช่องว่างระหว่างชาวไทยพุทธและมุสลิม เพิ่มพื้นที่
ทำกิจกรรมร่วมกัน เปลี่ยนพื้นที่ปิดให้กลายเป็นพื้นที่เปิด”
282
281 Personal communication, 28 เมษายน 2566.
282 Personal communication, 22 มีนาคม 2566.
2 0 สถาบันพระปกเกล้า