Page 279 - kpiebook66032
P. 279

ในหลากหลายมิติที่ได้กล่าวมานั้น ได้สะท้อนอย่างชัดเจนจากการที่ทางเทศบาลตำบลท่าสาป

               ได้รับรางวัลแห่งความภาคภูมิใจถึงสองรางวัลด้วยกัน คือ รางวัลวัฒนคุณาธรจากกระทรวง
               วัฒนธรรม เพื่อแสดงว่าเทศบาลตำบลท่าสาปเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ ด้านส่งเสริมงานศาสนา

               ศิลปะ และวัฒนธรรม ใน พ.ศ. 2558 และรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่าน
               การตรวจสอบประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance
               Assessment : LPA) 3 ปีซ้อน คือจาก พ.ศ. 2559-2561 นับเป็นความสำเร็จและความ

               ภาคภูมิใจอย่างยิ่งของชาวท่าสาป และจากความสำเร็จทั้งหลายเหล่านี้ ทางเทศบาลตำบล
               ท่าสาปจึงได้มีแนวทางให้โครงการเกิดความยั่งยืนและเกิดการต่อยอดจากสิ่งดี ๆ ที่ทำได้สำเร็จ  ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)

               ในปีที่ผ่าน ๆ มา โดยบรรจุโครงการตลาดนัดภูมิปัญญาสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นเอาไว้ใน
               แผนพัฒนาท้องถิ่นระยะ 5 ปี โดยอยู่ภายใต้แผนงานการศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ
               งานศาสนา วัฒนธรรมท้องถิ่น กองการศึกษา และตั้งแต่ พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา ได้ดำเนินการ

               ต่อยอดเป็นตลาดต้องชมท่าแพ-ท่าสาปโดยมีการขายสินค้าและอาหารพื้นบ้านในทุก ๆ วันเสาร์
               เวลา 10.00 น. – 20.00 น. ณ บริเวณท่าแพเก่า (ริมแม่น้ำปัตตานี) หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสาป

               อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา และได้มีการเปิดตัว ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ถนนคนเดิน
               ท่าสาปแต่ก่อน  ซึ่งมีการจำหน่ายสินค้าที่หลากหลาย ในทุกวันเสาร์ของต้นเดือน ณ บริเวณ
               ถนนคนเดิน ซอยเมืองท่าเก่า หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา โดยบริเวณนี้

               เป็นชุมชนไทยพุทธ ร้อยละ 100 ซึ่งชาวบ้านยินดีที่จะให้มีถนนคนเดิน ซึ่งมีแม่ค้า พ่อค้า
               ที่มีความหลากหลายทางศาสนามาจำหน่ายสินค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้รับ

               การพัฒนาอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นการพัฒนาคุณภาพและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์
               OTOP ทำให้เกิดการกระจายรายได้หมุนเวียนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในอนาคตทางเทศบาลตำบล
               ท่าสาปยังมีความคิดต่อยอดพัฒนาพื้นที่ที่จัดโครงการตลาดนัดภูมิปัญญาปัจจุบันให้เป็นสถานที่

               ท่องเที่ยวให้คนสามารถเข้ามาท่องเที่ยวได้ทุกวัน โดยมีแนวคิดที่จะทำการปรับปรุงด้าน
               กายภาพและปรับรูปแบบของกิจกรรมให้พร้อมกับการจัดตลาดรองรับการท่องเที่ยวทุกวันและ         ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น

               จะต่อยอดอาหารพื้นถิ่นให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น


                           “มีการวางแผนไว้ว่าจะเริ่มทำปี 2568 เราได้บรรจุเรื่องการพัฒนาปรับปรุง
                     พื้นที่แห่งนี้ไว้ในแผนของงานโยธา และเราจะทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คน

                     มาเที่ยวได้ทุกวัน และวันอาทิตย์ก็จะมีตลาดเพิ่มเข้ามาอีกด้วย ต่อไปจะมี
                     การประกวดอาหารพื้นเมือง คือพัฒนาเมนูอาหารใหม่ เป็นการต่อยอดและ

                     เชื่อมโยงความเก่ากับความใหม่ ให้ไปด้วยกันได้”  284


                  284   Personal communication, 28 เมษายน 2566.




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   2
   274   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284