Page 285 - kpiebook66032
P. 285

สำหรับปัจจัยภายนอกที่ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินโครงการนี้ ปัจจัย

               ภายนอกที่สำคัญที่สุด คือการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายและความร่วมมือของ
               ประชาชน ตลาดนัดภูมิปัญญาเป็นโครงการที่มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายทั้งในแง่การจัด

               สถานที่ การตกแต่งและจัดนิทรรศการในอาคารบ้านโบราณ การจัดกิจกรรมการแสดงบนเวที
               และอื่น ๆ ฉะนั้น ความสำเร็จของโครงการฯ นี้จะเกิดขึ้นอย่างที่เป็นไม่ได้หากปราศจาก
               การสนับสนุนจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เข้ามาเป็นภาคีช่วยในเรื่องต่าง ๆ คนละไม้คนละมือ

               ซึ่งการสนับสนุนมีทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยหน่วยงาน
               ภาครัฐได้เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องการอำนวยความสะดวก การสนับสนุนด้านอุปกรณ์ และ          ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)

               ช่วยในเรื่องของงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการฯ ส่วนภาคเอกชนก็มีบริษัทห้างร้านและ
               โรงงานอุตสาหกรรมก็มาช่วยสนับสนุนงบประมาณในการตกแต่งอาคารและการออกบูทต่าง ๆ
               ขณะที่ประชาชนก็ได้เข้ามาช่วยในเรื่องการจัดแสดงการละเล่นและตั้งซุ้มขายสินค้า ซึ่งส่วนหนึ่ง

               ที่ทำให้ประชาชนให้ความร่วมมือที่ดีต่อการดำเนินโครงการก็มาจากการที่ประชาชนได้เล็งเห็น
               แล้วว่าการสร้างตลาดภูมิปัญญาขึ้นมานั้นเป็นโอกาสในการเพิ่มรายได้ในครัวเรือนได้ เพราะว่า

               แต่ละครัวเรือสามารถนำสินค้ามาขายได้ทั้งในตลาดภูมิปัญญาและในตลาดต้องชมท่าแพ-ท่าสาป
               ทำให้ประชาชนเริ่มรู้สึกถึงคุณค่าของตลาด เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมต่อโครงการนี้ จึงได้ให้
               ความร่วมมือในทุกเรื่องที่ทางเทศบาลฯ ร้องขอในการร่วมจัดกิจกรรมต่าง ๆ และมาออกบูท

               ขายสินค้า กล่าวโดยสรุปก็คือ ทุกคนทุกภาคส่วนต่างก็ช่วยกันคนละไม้คนละมือซึ่งจาก
               การสนับสนุนคนละเล็กคนละน้อยแบบนี้นี่เองที่ทำให้โครงการสำเร็จไปได้ด้วยดี


                     ปัจจัยภายนอกอีกประการที่หนุนเสริมให้เกิดผลสำเร็จในการดำเนินโครงการนี้ก็อาจ
               จะเป็นการที่ตำบลท่าสาปมีอัตลักษณ์ของพื้นที่ที่เหมาะสมกับโครงการในเชิงวัฒนธรรม

               ท่าสาปเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่มีความโดดเด่นไม่เหมือนใครในหลายด้าน กล่าวคือ คนท่าสาป
               เป็นคนจริงใจ มีรอยยิ้ม มีความเป็นมิตร คนท่าสาปทั้งพุทธและมุสลิมก่อนเกิดเหตุการณ์ใน
               พ.ศ. 2547 รักใคร่กลมเกลียวไม่แบ่งแยกศาสนาไปมาหาสู่กันดี อาหารท่าสาป มีอาหารโบราณ       ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น

               ที่บางอย่างในเมืองยะลาไม่มี วัฒนธรรมท่าสาปมีความเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครบางอย่าง
               ไม่มีที่อื่นในยะลา เช่น การแสดงปุยันปุเละที่คล้ายกับหนังตะลุง ท่าสาปเป็นที่แรก ๆ ในดินแดน

                                                                                   293
               แถบนี้ที่มีการทำผ้าบาติก และอีกประการ คือ ท่าสาปมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน  มีความเป็น
               เมืองเก่าแก่ ทำให้มีเรื่องเล่าหรือตำนานต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งมรดกทางประเพณีวัฒนธรรม
               และภูมิปัญญาเหล่านี้ถือเป็นต้นทุนอย่างดีสำหรับการทำโครงการเชิงวัฒนธรรม ซึ่งก็เป็นจริง

               ดังที่เห็นเมื่อทางเทศบาลตำบลท่าสาปหยิบยกเอาประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม และ



                  293   Personal communication, 28 เมษายน 2566.




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   2
   280   281   282   283   284   285   286   287   288   289   290