Page 156 - kpiebook66032
P. 156
กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ต้องผ่านอะไรมามากมาย
1) ในช่วงแรกที่เริ่มดำเนินงานประชาชนแทบไม่ให้ความร่วมมือ
ในการดำเนินการช่วงแรก พบว่าไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในพื้นที่เท่าที่ควร
ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD) ทำให้ปัจจุบันประชาชนให้ความร่วมมือกันมากขึ้น ทั้งการเข้าร่วมกิจกรรมทำหมัน ฉีดวัคซีน
แต่ด้วยการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปี ที่มีการทำอย่างจริงจัง
การเข้าอบรม และการร่วมสำรวจประชากรสุนัข-แมวในชุมชน
“ช่วงแรก ก็มีปัญหาเยอะเพราะว่าประชาชนในเขตพื้นที่อาจจะไม่ค่อย
จะให้ความร่วมมือเท่าที่ควร แต่เทศบาลฯ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
ทั้งการลงพื้นที่เพื่อสำรวจและจำแนกประเภทของสุนัขประเภทที่มีเจ้าของ
จากนั้นพูดคุยกับเจ้าของและขอความร่วมมือ สำรวจสุนัขชุมชนที่มีคนเข้าไปให้
อาหาร มันมีพฤติกรรมอย่างไร ตลอดจนมีการเริ่มทำหมัน มีการควบคุมประชากร
มีการประสานงาน บูรณาการร่วมกับเครือข่ายและ ต่อยอดจริงจังในเรื่องการฉีด
วัคซีนและทำหมัน
กลายเป็นว่าช่วงหลังตลอดระยะเวลาที่ทำมาเกือบสิบปี ชาวบ้านก็เริ่มให้
ความสำคัญ เข้ามามีส่วนร่วม ในการสำรวจประชากรสุนัขและแมวได้อย่างชัดเจน
จนได้มาเป็นฐานข้อมูลที่อยู่ในมือเราสามารถทราบได้ว่าสุนัขตัวไหนที่ยังไม่ได้
ฉีดวัคซีน สุนัขตัวไหนที่ยังไม่ได้ทำหมัน หรือสุนัขตัวไหนอยู่ในพันธุ์ที่จะต้อง
ระมัดระวังในเรื่องของความดุร้าย หรือสุนัขพันธุ์ไหนมีพฤติกรรมอย่างไร ตรงนี้
ก็เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อที่จะมาแยกแยะประเภทสุนัข-แมว
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น การลงพื้นที่อธิบายทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ซึ่งต้องร่วมกันลงไปพูดทั้ง
ในชุมชนได้”
171
“ทัศนคติของประชาชนในช่วงแรก ๆ ที่อาจไม่เข้าใจแต่ก็แก้ได้ด้วย
ผู้นำเทศบาล เจ้าหน้าที่มูลนิธิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เราเลยต้องทำงาน
แก้ปัญหาจิตสำนึกทัศนคติของคนตรงนี้ด้วย ไม่ใช่แค่ทำแต่กับหมา ต้องทำให้
เขารู้สึกว่า เราทำเพื่อเขา ไม่ใช่ทำเพื่อหมานะ ทำแล้วเขาจะได้ประโยชน์อะไร
ฉีดวัคซีนทำให้ไม่ต้องหวาดระแวง การทำมาหากิน การท่องเที่ยว เศรษฐกิจ
สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ คือ มันอยู่ที่กลยุทธ์การสื่อสาร ของเรา ที่ใช้ในการ
แก้ปัญหาทัศนคติของคนตรงนี้” 172
ตัวแทนจากมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยได้กล่าวไว้
171 Personal communication, 9 มกราคม 2566.
172 Personal communication, 16 มกราคม 2566.
1 0 สถาบันพระปกเกล้า