Page 105 - kpiebook66032
P. 105
“พอมีการจัดเก็บข้อมูลแบบนี้ ทำให้ยอดจำนวนผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้น
ในระบบ เหมือนมีช่องทางในการสอดส่องมากขึ้น มีการส่งข้อมูลระหว่างกัน
ทำให้เราติดต่อกับหน่วยงานภายนอก พม.จังหวัด กาชาดจังหวัดได้ดีขึ้น มีคนช่วย
ส่งข้อมูลในพื้นที่เข้ามาเพิ่มจากช่องทางนี้ 40 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ การมีระบบ
ดังกล่าว ช่วยทำให้เทศบาลมีช่องทางในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เราช่วยได้ในเรื่อง
การทำเอกสาร แต่ต้องมีการเซ็นเอกสารเพื่อยอมรับให้มีการเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อการดูแลรักษาและประชาสัมพันธ์ด้วย” 83 ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
2) เทศบาล คือ การที่เทศบาลมีระบบฐานข้อมูล (Data Base) ที่ระบุพิกัดทาง
ภูมิศาสตร์ (GPS) แสดงถิ่นที่อยู่อาศัยของกลุ่มเปราะบางในสังคม อย่างครบถ้วน สมบูรณ์
ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน ลดขั้นตอนการทำงานในภาวะวิกฤต
ที่สำคัญ คือโครงการนี้ทำให้รูปแบบการดำเนินงานเปลี่ยนแปลงไป จากการที่
เทศบาลเคยทำงานเชิงรับ ประชาชนต้องเข้ามาติดต่อใช้สิทธิสวัสดิการที่สำนักงานเทศบาล
ก็ได้เปลี่ยนเป็นการทำงานเชิงรุก โดยนำนวัตกรรม X-RAY ชุมชน เคาะประตู เยี่ยมบ้าน
เยี่ยมใจ ใช้แนวคิด “EX-RAY C Model” มาใช้ดำเนินการร่วมกับทีมบูรณาการ สำหรับ
การลงพื้นที่สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย และดำเนินการให้ความช่วยเหลือถึงที่บ้าน โดยใช้
ฐานข้อมูลพิกัดทางภูมิศาสตร์ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่จัดเก็บบันทึกไว้ใน Google MY Maps
เป็นแผนที่นำทางในการเดินทางไปยังบ้านของกลุ่มเป้าหมาย
นอกจากนี้ ยังช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ
ในอดีตที่ผ่านมา โดยเมื่ออาสาสมัครโทรแจ้งสภาพปัญหาเบื้องต้น แชร์พิกัด ทางเจ้าหน้าที่
ทำการบันทึกพิกัด ก็สามารถลงพื้นที่ได้ภายใน 1 วัน ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
“มันรวดเร็วขึ้นจากเดิมมาก เดิมเรามีแค่โทรศัพท์ กว่าเจ้าหน้าที่เทศบาล
จะประสานกันเองได้ กว่าจะประสานกับชุมชนได้จะล่าช้ามาก พอมี Line OA
กับระบบนี้ ทำให้สามารถบันทึกพิกัดและแชร์พิกัดได้ทันทีกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง
ทำให้สามารถลงพื้นที่ได้ภายในวันนั้น ช่วยการให้บริการประชาชนมีความรวดเร็ว
ขึ้นทันตาเห็น” 84
83 Personal communication, 21 มีนาคม 2566.
84 Personal communication, 21 มีนาคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า