Page 100 - kpiebook66032
P. 100
(1) การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีกับกลุ่มแกน
นำสตรีเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เพื่อดำเนินการบันทึกพิกัดแผนที่ทางภูมิศาสตร์ (GPS)
ผู้รับเบี้ยผู้สูงอายุและผู้พิการ
ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD) พิกัดแผนที่ทางภูมิศาสตร์ (GPS) ของกลุ่มเปราะบาง
(2) การออกประกาศเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เรื่อง แต่งตั้งอาสาสมัคร GIS บันทึก
5) การมีส่วนร่วมในระดับเสริมอำนาจให้ประชาชน
โครงการนี้ ได้ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน พัฒนาศักยภาพของชุมชน โดยการดึง
ทรัพยากร ทุนทางสังคม ร่วมกันวางแผนและจัดการแก้ปัญหาของชุมชนสู่การพัฒนาต่อยอด
เป็น “กองทุนชุมชนจัดการตนเอง” โดยใช้นวัตกรรมฐาน One data for all เป็นเครื่องมือ
ในการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในชุมชน มีชุมชนนำร่อง คือ กองทุนชุมชนจัดการตนเองปากน้ำ
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
ทรัพยากรที่นำมาขับเคลื่อนงานปักหมุด
1) งบประมาณ
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีได้ตั้งงบประมาณมาอย่างต่อเนื่อง ในกรณีของกิจกรรมการ
ฝึกอบรม ใน พ.ศ.2565 มีโครงการบันทึกพิกัดแผนที่ทางภูมิศาสตร์ (GPS) ผู้สูงอายุและผู้พิการ
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 100,000 บาท เพื่อใช้ในการจัดการอบรม 2 หลักสูตร
สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ 1) อบรมการบันทึกพิกัดแผนที่ภูมิศาสตร์ (GPS) ในกลุ่มผู้รับ
เบี้ยผู้พิการ จำนวน 50,000 บาท และ 2) อบรมการบันทึกพิกัดแผนที่ภูมิศาสตร์ (GPS)
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น ในกลุ่มผู้รับเบี้ยผู้สูงอายุ จำนวน 50,000 บาท ซึ่งมีผู้เข้าอบรมหลักสูตรละ 70 คน โดยใช้เวลา
อบรมหลักสูตรละ 5 ชั่วโมง
นอกจากนี้ เทศบาลยังได้ตั้งงบประมาณไว้เพื่อให้มีระบบฐานข้อมูลผู้รับเบี้ยผู้สูงอายุ
และผู้พิการ (Big data) พิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS) ของ 70 ชุมชน โดย พ.ศ. 2565 ได้ตั้ง
งบประมาณไว้จำนวน 200,000 บาท
ส่วนแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2566-2570 ได้ตั้งงบประมาณที่ต่อเนื่องสำหรับพัฒนา
ระบบหลังบ้านผ่านโครงการบันทึกพิกัดแผนที่ทางภูมิศาสตร์ (GPS) ผู้รับเบี้ยสูงอายุและผู้พิการ
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี โดยตั้งงบประมาณปีละ 200,000 บาท (ปีงบประมาณ 2566-2570)
สถาบันพระปกเกล้า