Page 103 - kpiebook66032
P. 103

ส่วนที่ 4 ในวันที่ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง


                     ในส่วนของผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมของโครงการนี้ มีทั้งส่วนที่เป็นเชิงปริมาณและ

               เชิงคุณภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้

                     ผลสำเร็จเชิงปริมาณ ได้แก่ จำนวนผู้ประสบปัญหาทางสังคมได้เข้ารับความช่วยเหลือ
               ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อาทิ


                     1)  กลุ่มผู้ประสบปัญหาทางสังคม เช่น กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง กลุ่มผู้ต้องขัง และกลุ่มที่ได้รับ  ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
               ผลกระทบจากโควิด 19 ก่อนดำเนินการนวัตกรรมใน พ.ศ. 2563 จำนวน 13,039 ราย และ

               หลังดำเนินการนวัตกรรมใน พ.ศ. 2564 จำนวน 16,068 ราย พบว่า กลุ่มผู้ประสบปัญหาทาง
               สังคมได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น จำนวน 3,029 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.23


                     2)  กลุ่มผู้มีสิทธิสวัสดิการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย เช่น กลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ
               ก่อนดำเนินการนวัตกรรมใน พ.ศ.2563 จำนวน 17,171 ราย และหลังดำเนินการนวัตกรรม

               ใน พ.ศ. 2564 จำนวน 19,777 ราย พบว่า กลุ่มผู้ประสบปัญหาทางสังคม ได้รับการพัฒนา
               คุณภาพชีวิต เพิ่มขึ้น จำนวน 2,606 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.17

                     ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือคนในพื้นที่ได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จำนวนผู้มีสิทธิรับเบี้ย

               ยังชีพและจำนวนกลุ่มเปราะบางที่ถูกค้นพบในพื้นมากขึ้น

               ภาพที่ 11:  ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ กลุ่มผู้ประสบปัญหาทางสังคมได้รับการพัฒนาคุณภาพ

               ชีวิตเพิ่มขึ้น                                                                         ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น
























               ที่มา: เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี, การจัดทำฐานข้อมูล One data for all, (ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2566).






                                                                              สถาบันพระปกเกล้า
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108