Page 101 - kpiebook66032
P. 101
“ก่อนเริ่มทำโครงการฝึกอบรมให้ความรู้ เราไม่ได้ใช้งบประมาณ แต่เรามี
ทุนของกอง มีเครื่องมือเครื่องใช้ของเทศบาล แต่พอจะอบรม เราก็จัดตั้งเป็น
โครงการ โดยทำแผนทำโครงการฝึกอบรมบันทึกพิกัด GIS แล้วตั้งงบประมาณ
70,000 บาท เป็นงบประมาณใน ปี 2565 เพื่อใช้ในโครงการบันทึกพิกัด ปี 2565
โดยเน้นกิจกรรมการอบรมอาสาสมัครฯ นอกจากนี้ มีการของบประมาณประมาณ
200,000 บาทมาทำ Back up data สำหรับพัฒนาระบบหลังบ้าน เพิ่มเติม
โดยนำเข้าแผนพัฒนาเทศบาลเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณ” 78 ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
2) บุคลากร
บุคลากรหลักสำหรับโครงการนี้ มี 2 ส่วน คือ กลุ่มแรกเป็นบุคลากรที่เชี่ยวชาญ
ด้านคอมพิวเตอร์ และกลุ่มที่สองคือ กลุ่มที่มาช่วยในการจัดฝึกอรม
สำหรับบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ ตามที่ผู้อำนวยการกองสวัสดิการได้เล่าว่า
“จริง ๆ แล้ว โครงการนี้ เทศบาลอื่น ๆ ก็อยากทำ แต่คือขาดบุคลากร
อย่างน้องปิ่น ที่เป็นนักคอมพิวเตอร์ น้องมีไอเดีย พยายามศึกษา เรียนรู้และ
พัฒนา น้องเป็นบุคลากรของเราเอง ทำให้เราสามารถทำโครงการขึ้นมาและ
ใช้ประโยชน์ได้ดังที่เห็น” 79
ซึ่งเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า หากเทศบาลใดสนใจที่จะทำฐานข้อมูลเช่นนี้ ในแต่ละกอง
ควรจะมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และชอบ
ในการเรียนรู้ เพื่อมา Support งานของกอง กล่าวอย่างง่าย ๆ คือ ในกองควรต้องมี
โปรแกรมเมอร์มาจัดระบบ และเป็นบุคลากรที่มองเห็นแนวทางในการพัฒนางานด้วย ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
ส่วนกลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่มาช่วยจัดฝึกอบรมการบันทึกข้อมูลกลุ่มเปราะบาง
ในรูปแบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS) ในชุมชน และฝึกปฏิบัติ ขั้นตอน วิธีการการบันทึกพิกัด
โดยกิจกรรมนี้ มีคนในกองสวัสดิการสังคมประมาณ 30 คน และวัสดุอุปกรณ์ก็ใช้เท่าที่มีใน
กองสวัสดิการสังคม 80
78 Personal communication, 21 มีนาคม 2566.
79 Personal communication, 21 มีนาคม 2566.
80 Personal communication, 21 มีนาคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า