Page 180 - kpiebook66030
P. 180

สรุปการประชุมวิชาการ
     1 0 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


           นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งคนที่มีชีวิตอยู่ใน
           วันข้างหน้าจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

                 สถานการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันเรียกว่าเป็นวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศ

           (climate crisis) ส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้ทั้งในแง่มีความสุดโต่งมากขึ้นเรื่อย ๆ (extreme)
           และมีความถี่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ (frequency) ปัญหาสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อ
           การพัฒนาประเทศ เป็นปัญหาที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าจะส่งผลต่อใครคนใดคนหนึ่ง แต่สามารถ
           ส่งผลกระทบกับทุกประเทศและทุกคนอย่างถ้วนหน้า ซึ่งคนที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจาก
           ปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ คนยากจน จะเห็นได้จากเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น ทำให้คนขาดรายได้

           ที่ดินทำกินเสียหาย เมื่อปัญหาสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงมากขึ้น มีความถี่มากขึ้น
           จึงส่งกระทบต่อปัญหาความยากจนและนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมตามมา

                 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ฉะนั้น การรับมือ

           กับปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงต้องร่วมมือกันทุกประเทศและทุกคน ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกล้วน
           ตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ร่วมกันทำข้อตกลงและกติการะหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอนุสัญญา
           สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ที่ต้องการให้นานาประเทศ
           ร่วมกันรักษาระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศและให้ความสำคัญกับเรื่อง

           การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดภัยคุกคามต่อการผลิตอาหารของ
           โลกหรือความมั่นคงทางอาหาร และเพื่อให้การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของโลกยังสามารถ
           ดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศกำลังพัฒนาก็ต้องอยู่บน
           หลักการเดียวกันนี้ รวมไปถึงพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) และความตกลงปารีส (Paris

           Agreement)

                 การรับมือกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมไม่ควรดำเนินต่อไปในรูปแบบเดิม แต่เป็น
           ความรับผิดชอบของทุกฝ่ายที่จะต้องร่วมมือกัน ด้วยการเสริมสร้างประชาธิปไตยควบคู่ไปกับ
           การสร้างความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ทุกคน บนหลักการพื้นฐานคือ หน้าที่และความรับผิดชอบ

           ของเราทุกคน ทั้งรัฐบาล นักการเมือง ท้องถิ่น ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค นักลงทุน ภาคการศึกษา
           องค์การระหว่างประเทศ สื่อสารมวลชน เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน จึงจะเป็น
           คำตอบในการพัฒนาไปสู่ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อมและความมั่นคงของประชาธิปไตยได้
           ฉะนั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการคือ การมีความรู้ความเข้าใจจึงจะนำไปสู่การตัดสินใจ

           ที่เหมาะสม อีกทั้งให้ความสำคัญกับการสื่อสาร ที่ไม่ใช่เพียงแค่การสื่อสารรูปแบบทั่วไป
           แต่ควรสื่อสารให้เกิดความตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อส่งมอบโลกใบนี้
    การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4   ต่อไปให้คนที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปอนาคต
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185